ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

Main Article Content

ดวงใจ พรหมมินทร์
อภิญญา วนเศรษฐ, รองศาสตราจารย์ ดร.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว รวมทั้งความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และ 2) การตอบสนองต่อความแปรปรวนของผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษี  เงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)               


วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยใช้แบบจำลอง Vector Autoregressive Regressive (VAR) และใช้วิธีการประมาณการร่วมกับแบบจำลอง VAR ได้แก่     การทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Unit Root Test) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration Test) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Granger Causality test) และการวิเคราะห์ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความแปรปรวน (Impulse Response Function: IRF )


ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาษีทั้ง 3 ประเภท แต่ภาษีทั้ง 3 ประเภทไม่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มตอบสนองในทิศทางเดียวกันกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลตอบสนองในทิศทางตรงกันข้าม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมสรรพากร (2557). โครงสร้างการบริหาร สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/publish

[2] กรมสรรพากร (2560). ผลการจัดเก็บภาษี สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/publish/310.0.html

[3] เกนจิราณ์ อิ่นโดด. (2554). รายได้จากภาษีกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในทวีปเอเชีย (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

[4] ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ และรัตนา สายคณิต (2524) โครงสร้างภาษีของไทยและผลที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] ณรงค์ศักดิ์ พูลเงิน. (2546). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ภาษีสรรพากร (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
[6] เพ็ญศรี กำเนิดสินธุ์. (2545). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อรายรับภาษีเงินได้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์
ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
[7] สำนักกฎหมายสรรพเนติ (2551). ความรู้กฎหมายภาษีอากร สืบค้นจาก https://www.sappaneti.com
[8] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจาก
https://www.nesdb.go.th
[9] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). บัญชีประชาชาติ. สืบค้นจาก https://service.nso.go.th
[10] สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2558). ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ 2544 –
2559. สืบค้นจาก https://www.fpo.go.th
[11] สุกัญญา ตันธนวัฒน์ และคณะ. (2552). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[12] สุมาลี สถิตชัยเจริญและคณะ (2554) การศึกษาผลของภาษีมูลค่าเพิ่มต่อการสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
และเศรษฐกิจของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
[13] สุมาลี แสงพิรุณ . (2551). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อผลการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากร
พื้นที่สมุทรปราการ (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง,
กรุงเทพมหานคร.
[14] อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. เชียงใหม่:
สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[15] Roshaiza Taha and Nanthakumar Loganathan (2008) "Causality between Tax Revenue and
Government Spending in Malaysia". The International Journal of Business and Finance
Research. Volume 2, (Number 2) : PP 63-73
[16] Sun Jian and Tong Jinzhi (2011) A Research on Economic Factors Affecting China's Tax Growth Based on Panel Error Correction Model Xiamen University Xiamen, Fujian, China