แบบจำลองธุรกิจและความเป็นไปได้ทางการเงินในการผลิตไขมันทดแทนเนยโกโก้จากน้ำมันเมล็ดมะม่วง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์แบบจำลองธุรกิจและความเป็นไปได้ทางการเงินในการผลิตไขมันทดแทนเนยโกโก้จากน้ำมันเมล็ดมะม่วง ผลการศึกษาภายใต้แบบจำลองธุรกิจพบว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก คือ ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมที่ใช้เนยโกโก้เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตช็อกโกแลตและขนมหวาน คุณค่าที่นำเสนอต่อกลุ่มลูกค้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์[1]เป็นแบรนด์ตลาดระดับบน คุณภาพสูงและแปลกใหม่ แต่ราคาถูก ช่องทางการเข้าถึงลูกค้าเน้นช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม ภายใต้การวิเคราะห์ทางการเงินอายุโครงการ 10 ปี โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 60 ล้านบาท ณ อัตราคิดลดร้อยละ 10.305 พบว่า โครงการมีความคุ้มค่าแก่การลงทุน โดยพิจารณาจากเกณฑ์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 50,432,586.23 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.45 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (IRR) เท่ากับ ร้อยละ 24.23 จากการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน พบว่า ค่าใช้จ่ายเงินลงทุนเริ่มต้นสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 84.05 ค่าใช้จ่ายในช่วงดำเนินงานโครงการสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 96.06 ต้นทุนรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 44.83 และผลตอบแทนสามารถลดลงได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 30.95
[1] ผลิตภัณฑ์ ในที่นี้ หมายถึง ไขมันทดแทนเนยโกโก้จากน้ำมันเมล็ดมะม่วงสุกสายพันธุ์แก้วผสมกับน้ำมันปาล์มส่วนกลางในอัตราส่วน 80:20.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
วรัลชญาน์ ศิวอิสราวงศ์. (2560, 15 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
สมเกียรติ อยู่สุข. (2559, 6 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
สุพัฒนา ประชา. (2560, 20 มกราคม). สัมภาษณ์.
โสภาค สอนไว. (2559, 3 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
หฤทัย มีนะพันธ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ : ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ออสเทอร์วัลเดอร์, อเล็กซานเดอร์. และ พินเญอร์, อีฟ. (2557). คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ. แปลจาก Business Model Generation. แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญ. กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.
ETC Group. (2014). Cocoa butter & synthetic biology: A case study. Retrieved May 21, 2016, from https://www.etcgroup.org/files/ETC-cocoa-synbio-asestudy2014_0.pdf
Pardomuan, L., & Nicholson, M. (2014).Cocoa butter prices are surging. Retrieved April 23, 2016, from https://www.businessinsider.com/r-as-cocoa-price-soars-chocolate-makers-devour-substitutes-2014-9