ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานไร้ทักษะในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานแรงงานไร้ทักษะของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะแรงงานให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคประเทศไทย 4.0 โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 89 บริษัท ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองโลจิต ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อจ้างงานแรงงานไร้ทักษะของสถานประกอบในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ ประเภทอุตสาหกรรม กลยุทธ์ระดับองค์กร ความคิดเห็นต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 และโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่มีต่อการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาและด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิต ปัจจัยด้านคุณลักษณะแรงงานเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยด้านต้นทุนของกิจการเรื่องค่าจ้างแรงงานและค่าวัตถุดิบ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกด้านกฎหมายและนโยบายของรัฐบาลเรื่องนโยบายประเทศไทย 4.0 และโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกด้านภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. 2558. เศรษฐศาสตร์แรงงาน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560,
จาก https://fuangfah.econ.cmu.ac.th/teacher/thanes/files/Book%20Econ%20440%20(2015).pdf
ปวีณา เกิดงาม. 2558. ภาวะการจ้างงานไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สริกา นนทะสร. 2550. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศไทย. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2559. กำลังแรงงานรวม (อายุ 15 ปีขึ้นไป) จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ
ทั่วราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2544 – 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก https://social.nesdb.go.th/
อทิตยา สุวรรณโณ. 2558. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ,
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อรรถพงศ์ ลิมป์กาญจนวัฒน์. (2558). การจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร วิทยาการจัดการ, 2(1), 95-109.
Cronbach, Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3 rd ed. New York : Macmillan
Publiching Company.
Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weatherhill, Inc.