ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นจากภาษีการโอนที่ดิน

Main Article Content

Nuttapon Sroisamut
Ausanakorn Tavarom
Direk Patmasiriwat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ทำการศึกษาสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยแบบรายจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาอยู่ 2 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อขายที่ดินและรายได้จากภาษีการโอนที่ดินแบบรายจังหวัด ประการที่สอง เพื่อวัดความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นซึ่งมาจากการจัดเก็บภาษีการโอนที่ดิน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative Research) จากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่รวบรวมมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาพบว่า ประการแรกตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 จนถึงพ.ศ.2559 ปริมาณเอกสารสิทธิ์ที่ดินมีการเพิ่มขึ้น 9.67% จำนวนห้องชุดมีการเพิ่มขึ้น 69.11% และมีปริมาณการทำธุรกรรมโดยรวมเฉลี่ยปีละประมาณ 23.97% ส่งผลให้กรมที่ดินสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากภาษีการโอนที่ดินเฉลี่ยประมาณปีละ 31,259 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 2.40%  ซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมภาษีการโอนที่ดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหมวดรายได้ที่รัฐจัดสรรและส่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระนาบล่าง ประการที่สอง ความเหลื่อมล้ำของการคลังท้องถิ่นที่มาจากการจัดเก็บภาษีการโอนที่ดิน พบว่า จังหวัดที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินต่อหัวมากที่สุด 5 ลำดับ ประกอบด้วย ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี และสมุทรปราการ ผลของค่าสัมประสิทธิ์จีนีพบว่ากลุ่มจังหวัดเหล่านี้มีระดับความเหลื่อมล้ำในการเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินอยู่ในระดับที่ต่ำโดยมีค่าสัมประสิทธิ์จีนีอยู่ที่ประมาณ 0.08 – 0.11 ส่วนจังหวัดที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินต่อหัวน้อยที่สุด 5 ลำดับ ประกอบด้วย นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และแม่ฮ่องสอน มีผลของค่าสัมประสิทธิ์จีนีอยู่ที่ประมาณ 0.39 – 0.42 ซึ่งถือว่ามีระดับของความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการคลัง. สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2560, จากกระทรวงการคลัง http://www.mof.bo.th/home/eco/index_economic wordlist.htm.
กลุ่มสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, (2558), มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์. ข่าวกระทรวงการคลัง, 85/2558
กิตติพจน์ ศรีจันทรา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: กรณีศึกษา เปรียบเทียบประเภทบ้านเดี่ยวระดับหรูและคอนโดมิเนียม. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
จุรีย์ วิสุทธิ. (2557). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน. หลักสูตร "การประเมินราคาทรัพย์สิน (Property Valuation Course) รุ่นที่ 6" (หน้า 1-2, 14-15). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันธนารักษ์ศึกษา.
ชัยรัตน์ เอี่ยมสกุลรัตน์. (2558). เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ : ทฤษฎีและแนวคิดเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และดารุณี พุ่มแก้ว. (2557). ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นและแนวทางการปฏิรูปเงินอุดหนุน. ใน ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (บรรณาธิการ), การคลังท้องถิ่น การขยายฐานรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ (หน้า 17). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2560). ดุลยภาพดุลยพินิจ : ตลาดที่ดิน เครื่องชี้วัดความร้อนแรงเป็นรายจังหวัด. http://www.matichon.co.th/news/440276.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2554). ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: เปนไท พับลิชชิ่ง.
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2552). ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2524-2548. บทความอภิปราย 2552-1. ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
European Public Real Estate Association. (2012). Real Estate in the Real Economy: Supporting growth, jobs and sustainability. Belgium.
Robin Boadway & Anwar Shah . (2007). Intergovernmental Fiscal Transfers: Principles and Practice. United States of America: World Bank.
Yin Heng. (2008). Fiscal Disparities and the Equalization Effects of Fiscal Transfers at the County Level in China. Annal of Economics and Finance, 9(1), 115-149.