ความเปราะบางและปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วรวีร์ แสงอาวุธ
นรชิต จิรสัทธรรม
ศิรประภา บำรุงกิจ
พรรษพร เครือแวงมล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โดยอาศัยแนวคิดเรื่องความเปราะบางและการฟื้นตัวจากสภาวะวิกฤต  บทความนี้ได้ใช้แบบจำลอง logistic และประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีการความเป็นไปได้สูงสุด แบบจำลอง logistic นี้ต้องการทดสอบว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรต้นได้แก่ ลักษณะความเสี่ยงจิตวิสัย ความเสี่ยงด้านกายภาพ และ ด้านประชากรของกลุ่มตัวอย่าง จะส่งผลต่อโอกาสการปรับตัวของเกษตรกรเช่นไร ผลการศึกษาพบว่าความเสี่ยงเชิงจิตวิสัยมีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัว ณ นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การอภิปรายผลการศึกษาด้วยเทคนิคอัตราแต้มต่อพบว่า เมื่อเกษตรกรรู้สึกเผชิญกับความเสี่ยงภัยแล้งที่รุนแรงและอุทกภัยจะมีโอกาสปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 และ 5.9 ตามลำดับ ซึ่งตรงกันข้ามกับ เหตุการณ์เมื่อเกษตรกรเผชิญกับวันที่ร้อนมากเขาจะมีโอกาสการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในด้านผลกระทบส่วนเพิ่มพบว่า สำหรับเกษตรกรที่มีหัวหน้าครัวเรือนเป็นชายและมีน้ำใช้เพียงพอ ถ้าหากเขามีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจะมีโอกาสในการปรับตัวต่อภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 บทความวิจัยนี้มีข้อเสนอนโยบายได้แก่ การช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ไกลแหล่งน้ำ การสร้างระบบการประกันภัยพืชผลจากภัยพิบัติธรรมชาติ และ ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ ชุมอินทร์ และพิไลวรรณ ประพฤติ. (2560). “ความเปราะบางของครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ ต้นน้ำบ้านโหล๊ะหาร อ.ป่าบอน จ.พัทลุง.” วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 20 (3): 159-167.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2524). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการแนะแนวและ จิตวิทยา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2560). “ประกาศภัยพิบัติ” สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561, จาก http://122.155.1.141/inner.dpmkk-2.108/cms/inner_498/
กรมพัฒนาที่ดิน. (2558). “ข้อมูลการใช้ที่ดิน” สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561, จาก http://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id=18907.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). “แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 1).” สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.kriengsak.com/global-trends-2050.
จารึก สิงหปรีชา. (2558). “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรภาคการเกษตรต่อความ มั่นคงในการผลิตอาหารภาคเกษตรของไทย.” วารสารสมาคมนักวิจัย 20 (1): 107-121.
จิรัชยา ศิริเลขอนันต์. (2019). ทฤษฎีฐานรากว่าด้วยการรู้คิดและการปรับตัวของเกษตรกรภายใต้ความ
แปรปรวนของภูมิอากาศ. Journal of Behavioral Science for Development, 11(2), 151-170.
จุฑามาศ ธรรมมา, มณฑิรา ยุติธรรม และวิภาวรรณ ตินนังวัฒนะ. (2561). “การวิเคราะห์ความ เปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของการประมงในกว๊านพะเยา.” การประชุม วิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ 1 (9): 473-482.
ทรงชัย ทองปาน. (2556). “กลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรทำนา ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์.” วารสารปาริชาต 23 (3): 79-89.
นุจนาจย์ งิดชัยภูมิ และ บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. (2555). “การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อยในการลด ต้นทุน การผลิตข้าวนาน้ำฝน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ”. ว.วิทยาศาสตร์เกษตร 43 (2): 245-248.
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และพฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. (2556) “การปรับตัวของเกษตรกรในการสร้างความ ยืดหยุ่น ของฟาร์ม: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร ปิงน้อย จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 32 (3): 328-336.
เพ็ญฑิตา เอี่ยมชม, เฉลิมพล จตุพร, พัฒนา สุขประเสริฐ และ สุวิสา พัฒนเกียรติ. (2560). “การปรับตัว ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสถานการณ์ภัยแล้งในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี.” วารสารเกษตร พระวรุณ 14 (2): 191-198.
ยรรยงค์ อินทร์ม่วง. (2556). “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ความท้าท้ายของเกษตรกรภาคอีสาน ในการปรับตัว.” กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4 (4): 4-12.
วันเพ็ญ ทับทิมแก้ว. (2557). การปรับตัวและทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอาเซียน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วิภาวี ฐิตินันทพันธุ์. (2559). “การประเมินการตัดสินใจซื้อประกันภัยพืชผลของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนา ปี.” แก่นเกษตร 44 (1): 53-58.
ศุภวิชญ์ โรมแพน, สมบัติ เสริฐผล, และชูเกียรติ ผลาผล (2560). “การพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของชุมชน เสี่ยงภัย แล้งซ้ำซาก: ศึกษาชุมชนหมู่บ้านหนองบัวเหลือง ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตร สมบูรณ์ จังหวัด ชัยภูมิ.” วารสารธรรมทรรศน์ 17 (2): 49-60.
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). “มาตรฐานสิ่งแวดล้อมเมืองและ ชุมชนของประเทศไทยและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน”. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก https://goo.gl/8kC5YC.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). “สถานภาพแรงงาน จำนวนผู้มีงานทำ จำนวนว่างงาน.” สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561, จาก https://goo.gl/x5g9q4.
Adger, W. Neil. (2000). “Social and ecological resilience: are they related?.” Progress in Human Geography 24 (3): 347-64.
Biagini, B., Bierbaum, R., Stults, M., Dobardzic, S., & McNeeley, S. M. (2014). A typology of adaptation actions: A global look at climate adaptation actions financed through the
Global Environment Facility. Global Environmental Change, 25: 97-108.
Callan, Scott J. and Janet M. Thomas (2000). Environmental Economics and Management : Theory, Policy, and Application. Second Edition. Orlando, Florida: Harcourt Inc.
Grothmann, T., & Patt, A. (2005). Adaptive capacity and human cognition: the process of
individual adaptation to climate change. Global environmental change, 15(3), 199-213.
Holling, C.S. (1973), “Resilience and Stability of Ecological Systems.” Annual Review of Ecology and Systematics 4: 1-23.
Kroemker, D., Mosler, H.-J., 2002. Human vulnerability—factorsinfluencing the
implementation of prevention and protectionmeasures :an agent based approach.
In :Steininger, K., Weck-Hannemann, H. (Eds.), Global Environmental Change in AlpineRegions. Impact, Recognition, Adaptation, and Mitigation. Edward Elgar, Cheltenham, pp. 95–114
Saengawut A, V. C., BrunsonA, M. W., & Howe A, P. D. (2015) Localized risk perception of wildland fire hazard. 13th International Wildland Fire Safety Summit & Human Dimensions
of Wildland Fire.
Smit, B., & Pilifosova, O. (2003). From adaptation to adaptive capacity and vulnerability reduction. In Climate change, adaptive capacity and development (pp. 9-28).
Smit, B., & Skinner, M. W. (2002). Adaptation options in agriculture to climate change: a typology. Mitigation and adaptation strategies for global change, 7(1): 85-114.

กิตติกรรมประกาศ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2560 ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยครั้งนี้