การวิเคราะห์ผลของการพัฒนาชุมชนด้วยตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เก นันทะเสน
วราภรณ์ นันทะเสน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) เพื่อวิเคราะห์ผลของการพัฒนาที่มีต่อความยั่งยืนต่อชุมชนและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและข้อจำกัดในการพัฒนา โดยทำการสอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 391 ตัวอย่าง ซึ่งประเด็นผลของการพัฒนาที่มีต่อความยั่งยืนที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจวัดโดยใช้ ค่าเฉลี่ยของรายได้ ดัชนีความหลากหลายของ simson และค่าสัมประสิทธิ์จินิ ความยั่งยืนด้านสังคมวัดจากดัชนีความมั่นคงทางสังคม (social security index: SSI) ความยั่งยืนด้านปัจจัยทางกายภาพวัดจากดัชนีทางกายภาพ (physical index: PI) และความยั่งยืนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมวัดจากวัดจากดัชนีการอนุรักษ์ (conservation index: CI) ดัชนีความสำนึกในคุณค่าของสิ่งแวดล้อม (awareness index: AI) และดัชนีความปลอดภัยทางด้านสิ่งแวดล้อม (safety index: SI) โดยค่าดัชนีต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ค่าดัชนีที่เข้าใกล้ 1 แสดงถึงความยั่งยืนมากผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 93,230 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีความหลายหลายของรายได้จากภาคการเกษตรเท่ากับ 0.416 และนอกภาคการเกษตรเท่ากับ 0.329 ดัชนีความยั่งยืนทางสังคมเท่ากับ 0.723 ดัชนีความยั่งยืนทางกายภาพเท่ากับ 0.761 ดัชนีการอนุรักษ์เท่ากับ 0.802 ดัชนีความสำนึกในคุณค่าของสิ่งแวดล้อม 0.694 และดัชนีความปลอดภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 0.531 ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและข้อจำกัดในการพัฒนาในพื้นที่ พบว่า ด้านความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจควรมุ่งเน้นความหลากหลายและความเท่าเทียมกันของรายได้ ด้านความยั่งยืนทางด้านสังคมควรมีการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ด้านความรู้ (knowledge) และทักษะ (skills) อย่างต่อเนื่อง ด้านปัจจัยทางกายภาพควรพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเกษตร และด้านสิ่งแวดล้อมควรรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และ จิราวัลย์ จิตรถเวช. (2555). การพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภาคของประเทสไทย. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 6(1), 135-163.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2547). คู่มือการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.กรุงเทพ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2558). กรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558,จาก http://www.nesdb.go.th/econSocial/naturalResource/attachment/02.doc
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2555. รายงานผลการสำรวจปัญหาและความต้องการชุมชน เทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2555
David, P., & Giles, A. (1998.The concept of sustainable development: An evaluation of its usefulness ten years after Brundtland. Centre for Social and Economic Research on the Global Environment University College London and University of East Anglia.
Remigijus, C., Jolita, R., & Bronislovas, M. (2009). The concept of sustainable development and its use for sustainability scenarios. Inzinerine Ekonomika-Engineering Economics (2).
UN Division for Sustainable Development. (2007). Indicators of sustainable development: Framework and methodologies.