Economic Benefits of Community Based Tourism (CBT) Case Study: The Red Lotus Lake, Udonthani
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนของกิจกรรมให้บริการขับเรือนำเที่ยวการท่องเที่ยวทะเลบัวแดงทุกท่าเรือ โดยการพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) พบว่ามีค่าเป็นบวก ซึ่งหมายความว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยเฉพาะท่าเรือที่มีนักท่องเที่ยวมาก อย่างเช่น ท่าเรือบ้านเดียม และท่าเรือเชียงแหว ในกรณีท่าเรือบ้านเดียมพบว่าเรือใหญ่ใช้เวลาคืนทุน 1 ปี 8 เดือน ส่วนเรือเล็กคืนทุนเร็วกว่า 5 เดือน การประมาณผลประโยชนางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภาพรวมจากการให้บริการขับเรือนำเทียวทะเลบัวแดงพบว่า รายได้สุทธิที่กระจายสู่ผู้ขับเรือประมาณ 380 คน ใน 6 ท่าเรือ คำนวณได้เท่ากับ 11,604,759 บาท/ปี ซึ่งเป็นผลกระทบเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวชุมชนทะเลบัวแดงโดยเฉพาะการให้บริการเรือนำเที่ยวก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจกระจายต่อชุมชนอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในการลงทุนที่ทำให้รายได้สุทธิจากการขับเรือในแต่ละท่าเรือแตกต่างกันไป คือ จำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนเรือที่ให้บริการในแต่ละท่า ดังนั้นชุมชนและภาครัฐควรเน้นการบริหารจัดการให้การท่องเที่ยวทะเลบัวแดงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่บริหารจัดการโดยชุมชน โดยเน้นการดูแลระบบนิเวศให้มีความยั่งยืน เพื่อให้ความยั่งยืนทางรายได้และระบบนิเวศดำเนินไปทิศทางที่เกื้อกูลกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
กาจ วัฒนศรีส่ง. (2545). การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการสถานที่พักแรม
เพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. รายงานการศึกษาอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทะเลบัวแดงอย่างยั่งยืน. (ม.ป.ป.) แผ่นพับทะเลบัวแดง “ทะเลบัวแดงวันเดียวเที่ยวไม่หมด”.
ฐิติพร วรฤทธิ์. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าของธุรกิจโฮมสเตย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2543). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สินธุ์ สโรบล. 2557. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560, จากhttps://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=957:2012-07-01-03-23-01&catid=35:research-forum&Itemid=146&option=com_content&view= article&id=957:2012-07-01-03-23-01&catid=35:research-forum&Itemid=146
Asker, S., Boronyak, L., Carrard, N. and Paddon, M. (2010). Effective Community Based Tourism. APEC TOURISM WORKING GROUP. Sydney: Sustainable Tourism Cooperative Research Centre.
Kiss, A. (2004). Is community-based ecotourism a good use of biodiversity conservation funds?. TRENDS in Ecology and Evolution. 19 (5), 232-237.