มิติความยากจน และรากเหง้าของความเหลื่อมล้า กับความยั่งยืนในการพัฒนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาและการวิจัยในอดีตที่ผ่านมาทำให้เราได้มองเห็นภาพที่หลบซ่อนอยู่ในสังคม ปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวเรามากว่าที่เราคิด เป็นที่หวาดกลัวและทุกคนพยายามหลีกหนีมัน แต่กลับอยู่ร่วมกับสังคมของเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมกลับเลือกที่จะมองข้ามผ่านมันไป มีความคิดฝังลึกในเจตนคติว่าไม่สามารถแก้ไขมันได้ นั่นคือ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ประเด็นที่ทำให้ผู้ศึกษาริเริ่มพยายามทำความเข้าใจและเข้าไปสัมผัสทำความรู้จักโลกอีกด้านหนึ่งคือ การศึกษาของ World Bank (1972) ที่กล่าววว่า “คนกว่าร้อยล้านคนไม่ได้เป็นแค่คนจนตามตัวเลขที่แสดงออกมาทางสถิติเท่านั้น แต่คนเหล่านี้กำลังถูกลิดรอนและบั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในทุกๆวันที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งไม่มีตัวแลขทางสถิติใดที่สามารถสะท้อนปรากฏการณ์อันเลวร้ายนี้ได้...สองในสามของเด็ก(ที่รอดชีวิตหลัง 5 ขวบ) มีการเจริญเติบโตที่ไม่ต่อเนื่องทั้งร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากทุพโภชนาการ มีผู้ใหญ่อีกมากกว่าร้อยล้านคนที่ไม่มีการศึกษามากกว่าเมื่อยี่สิบปีที่ผ่านมา การศึกษาและการมีงานทำกลายเป็นของยากอยู่ในภาวะเสื่อมทราม และมีสภาพเสื่อมถอยลงทุกวัน”
และการศึกษาของ สมจัย จิตสุชน 2548 (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: TDRI) ได้ชี้ประเด็นให้สังคมได้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างและลึกซึ้งมากขึ้นถึงปัญหาความยากจนในสังคมไทย โดยศึกษาความยากจนในทัศนะของคนจนที่สัมผัสกับความจน จริงๆ พบว่าคนจนให้ลักษณะความหมายของความจนที่มีความใกล้ตัวและสัมผัสได้ เช่น “ไม่มีกิน ไม่พอกิน รายได้น้อย ไม่มีที่ทำกิน มีหนี้ ป่วย สุขภาพไม่ดี หรือพิการ…” นอกจากนี้ยังให้คำจำกัดความที่เชื่อมโยงกับ เหตุ แห่งความจนได้อย่างชัดเจน คือ“ ไม่มีที่ดินทำกิน การศึกษาต่ำ ไม่มีงานทำ รายได้น้อย ขาดแคลนเงินทุนหรือทรัพย์สิน ปัญหาสุขภาพ…”และนอกจากนั้นยังให้คำจำกัดความที่เชื่อมโยงกับผลแห่งความจน คือ “ ไม่พอกิน มีหนี้ ไม่มีทรัพย์สิน ไม่มีบ้านเป็นของตัวเองหรือสภาพบ้านไม่ดี ขาดแคลนอาหาร มีปัญหาสุขภาพเพราะไม่มีเงินรักษา …” คำตอบที่ได้จากการศึกษาทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วสาเหตุ หรือผลลัพธ์จากความยากจนไม่สามารถพิจารณาเฉพาะรายได้อย่างเดียวได้ แสดงว่ามิติของความจนจริงๆแล้วไม่ได้เกี่ยวกับตัวเงินเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายๆมิติที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Non-Income Dimension) เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ดังนั้นระยะต่อมาจึงได้มีการศึกษาปัญหาความยากจนในมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น มีการพัฒนาเครื่องมือตัวชี้วัดที่หลากหลายมากขึ้น เช่น Human Poverty Index, Regional Human Achievement Index และ Multidimensional Poverty Index (MPI) โดยองค์กรด้านการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME: UNDP ได้เพิ่มมิติด้านสุขภาพ การศึกษา และมาตรฐานการครองชีพเข้ามาคำนวณดัชนีชี้วัดความยากจน
ความยากจนและเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้ เนื่องจากความยากจน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันความเหลื่อมล้ำที่มากส่งผลให้การกระจายผลตอบแทนหรือโอกาสมีความแตกต่างกัน และนำไปสู่ปัญหาความยากจนได้ ความเหลื่อมล้ำและความยากจนจึงเป็นเหตุปัจจัยและผลลัพธ์ของกันและกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการให้คำจำกัดความในวงการวิชาการส่วนใหญ่มักจะยึดติดกับมาตรฐานของคำว่า “คำจำกัดความ” อย่างเคร่งครัด (สมจัย จิตสุชน, 2548) โดยยึดติดกับกรอบทางความคิดในทางทฤษฎีจนลืมสัมผัสถึงปัญหาที่แท้จริงอย่างลึกซึ้ง จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้คำนิยามความจนไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด และย้ำเตือนกับวงการวิชาการเสมอมาว่าหากเรายังยึดติดกับกรอบทางความคิดหรือนั่งมองแต่ตัวเลข เราจะไม่มีวันเห็นปัญหาอย่างแท้จริง….การเข้าไปสัมผัสเพื่อทำความเข้าใจในบริบทและแก่นแท้ของความยากจนและความเหลื่อมล้ำจึงเป็นสิ่งน่าค้นหาและนำมาพัฒนา สร้างความรับรู้ใหม่ น้อมนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รอบด้าน เกิดเป็นความยั่งยืนในการพัฒนาที่แท้จริงต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2552). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทย. วารสารประชากรศาสตร์ 25(2): 69-87.
สยาม อรุณศรีมรกต. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต.วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย 11(3) :1 – 7.
ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. EAU Heritage Social Science and Humanity Journal 5(2).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) .(2562). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2560). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2560. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social.
สมชัย จิตสุชน . (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายด้านความยากจนและการกระจายรายได้. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565. http://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/Final%20Report_poverty2011_updateJUNE15_2283.pdf .
อติวิชญ์ แสงสุวรรณ .(2558). ความเหลื่อมล้ำ. สืบค้น 4 กันยายน 2564
จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=29688
นิธินันท์ วิศเวศวร .(2546). โครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชัย จิตสุชน. (2558). รายงานการวิจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย:แนวโน้ม นโยบายและแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยนคนปรับ. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.lib.ku.ac.th/eng/index.php/books-recommendation/982-new-chalenge-after-covid-19.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2551). ความเหลื่อมล้ำของรายได้…อุปสรรคต่อความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ. สืบค้น 19 ธันวาม 2563 https://positioningmag.com/39997?fbclid=IwAR2u94sZBnljoL9SpWKskqd0lZhUaNSs7E5DooS44l8pbGQqO4Xc1TJOt4A.
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน.(2561). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน.สืบค้น19 ธันวาคม2563 https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/?fbclid=IwAR1ZXcQk4OVN4OvVsmIZoLuCweQDvM_mSDFFUIZcLPw0uC8L66WeBnTuuDU#ref-1854-9.
จรัมพร โห้ลำยอง. (2556). การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเมืองและชนบท และการกระจายรายได้ .ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา .นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร .(2560). สู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตามแนวพระราชดาริของ ร.9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วศิระ.
อารยะ ปรีชาเมตตา .(2559). พัฒนาเศรษฐกิจลดวิกฤตเหลื่อมล้า. สืนค้น 4 มกราคม 2565. http://opac.mbu.ac.th/Record/29490.
ชิดตะวัน ชนะกุล .(2559). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความยากจนและความเท่าเทียม .กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุมาลี สันติพลวุฒิ .(2560). ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจและกรณีศึกษา .กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิจิต บาเนอร์จี .(2554). เศรษฐศาสตร์ความจน (Poor Economics) (ฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์). กรุงเทพมหานคร: Salt. (ต้นฉบับพิมพ์ปี พ.ศ.2563).