ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

Main Article Content

marut kludcharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิทำการศึกษาในช่วง ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2553 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ.2563 รวมระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 44 ไตรมาส โดยเลือกทำการศึกษาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด จำนวน 3 กองทุน และประมาณค่าด้วยวิธี Multiple Regression Analysis


            ผลการศึกษาพบว่ามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนเพื่อ      การเลี้ยงชีพ (RMF) ทั้ง 3 กองทุน ได้แก่ (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เนื่องจากการเกิดเงินเฟ้อจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรของบริษัทปรับตัวสูงขึ้น (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะเป็นตัวบ่งชี้การเจริญเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ               และ (3) ราคาทองคำ (GOLD Price) เนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย โดยในช่วงเวลา    ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจบุคคลจะหันมาถือทองคำแทนการถือหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ในบางกองทุน ได้แก่    (1) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (PIR) เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะส่งผลให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น (2) อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท (EXR) เนื่องจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท    จะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและยังส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ     และ (3) การใช้จ่ายของรัฐบาล (GMS) เนื่องจากการที่รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมาจากสาเหตุการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจชะลอตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกช ตั้งกิตติเวช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน Small-Mid Cap. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน : ตราสารทั่วไป : หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป Investment consultant : plain products. (2560). (พิมพ์ครั้งที่ 1.) ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ชมพูนุท พรหมภัทดิ. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วิทยากรชํานาญการสํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นจาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). ประเภทของกองทุนรวม. สืบค้นจาก

https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content02.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). อัตราเงินเฟ้อ. สืบค้นจาก

https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH

นพพล ฉั่วโรจนพงศ์. (2560). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนเซ็ท50. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวงจำกัด. (2562). ข้อมูลกองทุน. สืบค้นจาก https://www.wealthmagik.com/FundInfo/FundHouseProfile-BBLAM

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). RMF คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content09.pdf

พงษ์พัฒน์ ไหลวัฒนชัย. (2560). (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน Large Cap. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ., กรุงเทพมหานคร.

พนิดา สมหมาย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,

กรุงเทพมหานคร.

วนิดา โคษา. (2559). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในหมวดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้. (2562). ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/

สำนักสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ (วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัดพ.ศ. 2554 – 2563. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx