ความพึงพอใจในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ): กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

Thunyathorn Valapaichitra
ธันยธรณ์ วัลไพจิตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) ของนิสิต โดยที่ประโยชน์ของการวิจัยคือ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่สนใจในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเจาะกลุ่มเป้าหมายถึงเพื่อที่ลงพื้นที่ไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น สามารถนำข้อมูลที่ได้พัฒนาฐานข้อมูลของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้นิสิตตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการทำแบบสอบถามจากนิสิตที่ศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2559 ถึง 2561 จำนวน 144 คน จากการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คิดเป็นร้อยละ 70.1 รองลงมาคือเพศชาย ร้อยละ 28.5 และเพศอื่น ๆ ร้อยละ 27.8 โดยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนรัฐบาล รองลงมาคือโรงเรียนเอกชน โรงเรียนสาธิต และโรงเรียนในต่างประเทศตามลำดับ ส่วนแผนการเรียนของกลุ่มตัวอย่างในระดับมัธยมศึกษาที่มากที่สุดคือแผนการเรียน สายวิทยาศาสตร์ - คณิต รองลงมาคือสายศิลป์ – คำณวน และที่น้อยที่สุดตามลำดับได้แก่สายศิลป์ - ภาษา และสายวิทยาศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ ในด้านตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลทั้งสามปัจจัยอันได้แก่ เพศ โรงเรียนที่สำเร็จการศึกษา และแผนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสัมพันธ์ร่วมกันกับปัจจัยค่าเล่าเรียน ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ของหลักสูตร ความพึงพอใจเรื่องระยะทางระหว่างมหาวิทยาลัยและที่พักของนิสิต และความพึงพอใจจากการเห็นถึงความเป็นประโยชน์ของหลักสูตรฯ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความพึงพอใจจึงเลือกตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) โดยที่ปัจจัยทั้งหมดเป็นมีนัยสำคัญทางสถิติต่ำกว่าระดับ 0.05


คำสำคัญ ความพึงพอใจ การตัดสินใจ การเข้าศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jupiter, H. (2017). FACTORS INFLUENCING INTERNATIONAL STUDENT’S DECISION IN CHOOSING STUDY DESTINATION ABROAD. Labuan e-Journal of Muamalat and Society.

Maslow, A. H. (1981). Motivation And Personality: Harper & Row.

Schunk, D. H., Pintrich, P. R., & Meece, J. L. (2008). Motivation in Education: Theory, Research, and Applications: Pearson/Merrill Prentice Hall.

Steger, M. B. (2017). Globalization: A Very Short Introduction: Oxford University Press.

Viotti, P. R., & Kauppi, M. V. (2013). International Relations and World Politics: Pearson.

ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล. (2546). จิตวิทยาสำหรับนักเศรษฐศาสตร์: กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ภ. (2550). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น = Introduction to sociology and anthropology : SO 103 (พิมพ์ครั้งที่ 20.. ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บัณฑิตศึกษา, ส. (2554). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร : ประมวลสาระชุดวิชา 60725 = Human resource economics and human resource management in organization (พิมพ์ครั้งที่ 1.. ed.): นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วราคม ทีสุกะ. (2531). ความคิดทางสังคมและทฤษฎีทางสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์.

วีระชนานันท์, ส. (2548). เหตุผลในการเข้าศึกษาโครงการพิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กรณีศึกษา : โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.

อัมพร วิจิตรพันธ์. (2520). เศรษฐศาสตร์การศึกษาและการวางแผนกำลังคน: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัมพร สุคันธวณิช และศรีรัฐ โกวงศ์. (2553). มนุษย์กับสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 9.. ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.