การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนิสิต ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในการศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ นิสิต คณาจารย์ และ บุคคลสายปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 119 คน จากประชากร 792 คน แบ่งเป็น นิสิต 88 คน คณาจารย์ 18 คน และบุคคลสายปฏิบัติการ 13 คน โดยวิเคราะห์ด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านผลกระทบการเรียนออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อผลการเรียนของนิสิต ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านผลกระทบการเรียนออนไลน์ ไม่มีผลต่อผลการเรียนของนิสิต เนื่องมาจากผู้สอนมีการมอบหมายงานเพื่อให้นิสิตศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น และลดสัดส่วนคะแนนการสอบลง เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ นอกจากนี้นิสิตได้มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อสามารถเรียนทางออนไลน์และทบทวนเนื้อหารายวิชาย้อนหลังได้ ขณะที่ปัจจัยด้านความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อผลการเรียนของนิสิต ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เช่นกัน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ไม่มีผลต่อผลการเรียนของนิสิต เนื่องมาจากทางคณะเศรษฐศาสตร์ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาสิ่งสนับสนุนในการเรียนการสอนแก่คณาจารย์ อย่างเช่น การสั่งซื้อโปรแกรม Zoom แบบถูกลิขสิทธิ์ และการพัฒนาเครือข่ายสัญญาณระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
คำสำคัญ: การวิเคราะห์, ผลกระทบ, การเรียนการสอน, ความพึงพอใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
BBC NEW. (2563). ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/features-51734255
K.Pair. (2560). Taro Yamane คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563, จาก https://greedisgoods.com/taro-yamane/
กนกวรรณ มณีฉาย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) ของพนักงานธนาคารออมสิน เขตสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563, จาก https://covid19.ddc.moph.go.th/
กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทัศน์ ปี 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) 2563, หน้า 83-97.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). อว.ประกาศขอความร่วมมือ หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว. เสนอมาตรการ เพื่อช่วยเหลือลดค่าเทอมพร้อมเตรียมการเรียนการสอนผ่านออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563, จาก https://web.facebook. com/MHESIThailand/photos/a.228663747160713/3360502340643489/?type=3&theater
ทวีศิลป์ สารแสน. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนในห้องด้านครูผู้สอนกับความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2563). กระทรวงศึกษาธิการสั่งสถานศึกษาทั่วประเทศปิดเรียน ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563, จาก moe360.blog
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงาน กระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน.วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิไลพรรณ อาจารีวัฒนา (2562). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาของนักศึกษาโครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระโครงการพิเศษ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์ข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). มีผลบังคับใช้แล้ว!! ประกาศ สธ. ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID -19) เป็นโรคติดต่ออันตราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564, จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8037
สุวภัทร แกลัวกล้า. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (ทศรัฐราษฎร์นุกูล) จังหวัดแพร่. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา-การศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.