การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างร้านค้าสมัยใหม่และร้านค้าโชห่วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างร้านค้าสะดวกซื้อและร้านโชห่วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการทั้งร้านค้าสะดวกซื้อและร้านโชห่วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 355 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบการกำหนดโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t  (t-test)  


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไปซื้อสินค้าที่ร้านโชห่วยเป็นประจำมีความพึงพอใจ พนักงานร้านค้าโชห่วยในประเด็นของความคุ้นเคยและเป็นกันเองกับลูกค้า มีการบรรจุสินค้าให้ลูกค้าอย่างเรียบร้อย มีการลดราคา และการขายเชื่อให้แก่ลูกค้า สำหรับร้านค้าสะดวกซื้อส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในลักษณะทางกายภาพที่ดี สินค้ามีให้เลือกหลากหลายขนาด และพนักงานให้บริการรวดเร็วคิดเงินถูกต้อง ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สำหรับร้านค้าโชห่วยคือ สินค้าที่จำหน่ายควรมีให้เลือกหลากหลายขนาดและยี่ห้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในหมวดอาหารสด ควรสดใหม่ มีคุณภาพดีไม่เป็นสินค้าเก่ามาจำหน่ายให้ลูกค้า เจ้าหน้าที่ให้บริการควรคิดเงินให้รวดเร็วและถูกต้อง ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านสถานที่ให้กับลูกค้า นอกจากนี้ควรจัดทำป้ายราคาสินค้าติดที่ตัวสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Thang and Tan. (2003) Linking Consumer Perception to preference of retail stores. Online https://www.researchgate.net/ retrieved

April8, 2022.

กมล สงบุญนาค. (2560) . การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหาร). สถาบัน

บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2560.

กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2557). ความสำเร็จของธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, 2554.

นภัทร ไตรเจตน์ (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) กรณีศึกษา ในตลาดไท ปทุมธานี. บริหารธุรกิจมหา

บัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2558.

ปัทมา ตุงคะเสรีรักษ์. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในตลาดชุมชน ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์

ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2563.

มณีวรรณ บรรลุศิลป์ (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (ร้านโชห่วย). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจ

บัณฑิตย์. 2558.

ลออทิพย์ เกิดน้อย (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2555.

วีรดา ศานติวงษ์การ (2561). การวิจัยเรื่องปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จาก ร้านขายยาเดอะ

ฟาร์มา ในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561.

ศรุต กลิ่นอาจ. การพัฒนาร้านโชห่วยในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีให้ทันกับยุค 4.0. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร, กลุ่มผู้บริหารระดับต้นวิทยาลัย

พาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). โครงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีก. ออนไลน์.

https://tdri.or.th/2013/04/d2002002/ สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.

สมพล ทุ่งหว้า (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2559.

สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์. (2541) การค้าปลีกสมัยใหม่กับการพัฒนาประเทศ. ออนไลน์. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/ สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565

อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ธุรกิจค้าปลีก. กรุงเทพมหานคร: วารสารนักบริหาร.