ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า กรณีศึกษา : นิสิตนักศึกษา

Main Article Content

Thittita Yommana

บทคัดย่อ

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา และเพื่อศึกษาทัศนคติต่อความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งอาจจะนำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าในอนาคต รวมถึงศึกษาประสิทธิผลของแนวทางในการสะกดต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มทดลองที่มีการศึกษาเชิงทดลองโดยใช้หลักของการสะกดที่แตกต่างกัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาทั้งสิ้น 68 คน ใช้การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อทราบถึงทัศนคติต่อการเลิกบุหรี่ และพฤติกรรมก่อนการทดลองผลการศึกษาจากกลุ่มการทดลอง พบว่า อายุเฉลี่ยในการตั้งเป้าหมายว่าจะเลิกสูบของทั้งกลุ่มทดลองอยู่ที่ประมาณ 35 ปี และกลุ่มทดลองมีความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่เพื่อคนอื่นมากว่า คิดเป็นสัดส่วน 55.88 เมื่อเทียบกับการเลิกบุหรี่เพื่อตนเอง พฤติกรรมในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลจากความอยากรู้อยากลอง การประยุกต์โดยใช้อิทธิพลของคนรอบข้างทำให้กลุ่มตัวอย่างมีการลดการสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มทดลองมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่เปลี่ยนในทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ เพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การที่คิดว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อการสูบ ความตั้งใจในการวางแผนว่าจะเลิกสูบบุหรี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angrist, J. D. (2014). The perils of peer effects. Labour Economics, 30, 98-108.

Kahneman, D. (1979). Prospect theory: An analysis of decisions under risk. Econometrica, 47, 278.

Thaler, R. H. (2018). Nudge, not sludge. Science, 361(6401), 431-431.

จตุภัทร คุณสงค์. (2564). บุหรี่ไฟฟฟ้า. ออนไลน์. https://www.bangkokhospital.com/content/electric-cigarette. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

ณัฐพล รุ่งโรจน์ สิทธิชัย (2560). การรับรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อบุหรี่ ไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์ (No. 145347). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ธีรพล ทิพย์พยอม และ ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์. (2557). บุหรี่ อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(3), 313-328.

บุญชัย พิริยกิจกำจร และ นิรชร ชูติพัฒนะ. (2561). แนวทางการป้องกันและลดละเลิกบุหรี่ของเยาวชน จังหวัด สงขลา. The Southern College Network

Journal of Nursing and Public Health, 5(1), 108-123.

ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ภาวนา เมนทะระ, และ ปิยชาติ บุญเพ็ญ. (2562). พฤติกรรม การ สูบ บุหรี่ ไฟฟ้า และ พฤติกรรม ต้องการ เลิก บุหรี่ ของ นักศึกษา ระดับ

อุดมศึกษา ใน เขต กรุงเทพมหานคร. Journal of Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social

Sciences), 11(22), 1110-127.

ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2556). หลอกให้เท่ห์ ความจริงที่ถูกซ่อนไว้ บุหรี่ไฟฟ้า. ออนไลน์. https:/shortur. asia//Tw1I. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565.

ศศิธร ชิดนายี, และวราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

อุตรดิตถ์, 10(1), 83-93.

สำนักข่าวอิศรา. 2564. กางสถิติ-ไขข้อสงสัย ทำไมบุหรี่ไฟฟ้าถึงไม่ถูกกฎหมาย เหตุดึงดูดนักสูบหน้าใหม่. ออนไลน์.

https:/www.isranews.org/article/isranews-scoop/103570-isranews_news-22.html. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.