การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นภายในประเทศเปรียบเทียบกับการซื้อสินค้าแฟชั่นแบบพรีออเดอร์จากต่างประเทศ

Main Article Content

รัฐภูมิ รักมิตรอานนท์
ธวัลรัตน์ พันธ์ไสว
ขวัญจิรา ครองยั่งยืน
ชุติกาญจน์ ศรีลา
เบญจาภา เมฆเบญจาภิวัฒน์
ณัฐกานต์ มูลมอญ
สหรัฐ พรทิพย์

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันธุรกิจซื้อขายออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะธุรกิจซื้อขายสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของCovid-19 ส่งผลให้พฤติกรรมและรูปแบบการใชีชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้บริโภคหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย ส่งผลให้จำนวนผู้บริโภคและผู้ขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มอุปสงค์ที่มีต่อการซื้อสินค้าภายในประเทศและการพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศของคนไทย โดยนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรมทางเศรษฐมิติ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มอุปสงค์สินค้าแฟชั่น ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านคุณภาพสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านกายภาพ ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคของผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นออนไลน์  และอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ ภาพรวมในการดำเนินธุรกิจของผู้ทำอาชีพรับพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว


            ผลการศึกษาพบว่า ด้านอุปสงค์มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.1 มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศและการพรีออเดอร์สินค้าแฟชั่นจากต่างประเทศ ร้อยละ 43.9 มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศอย่างเดียว และด้านอุปทาน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า การทำธุรกิจนี้ต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดสูง อีกทั้งยังพบปัญหาจากปัญหาด้านการขนส่ง และปัญหาสินค้าคงค้างอยู่ในคลัง เพราะสินค้าที่จำหน่ายเป็นสินค้านิยมตามกระแส (Fast Fashion) เมื่อกระแสของสินค้าหมดไป ส่งผลให้ความนิยมลดลง เนื่องจากสินค้าแฟชั่นเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury goods)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์. (2563). ธุรกิจแฟชั่นออนไลน์เติบโตและขับเคลื่อนโดยการดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ได้สำเร็จ. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2566 , จาก https://oldweb.ditp.go.th/contents_attach/623154/623154.pdf

ฑิตาพร รุ่งสถาพร และปฐมา สตะเวทิน. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร

ปริมณฑล และพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2566 , จาก https://so02.tci-haijo.org/index.php/jcomm/article/download/244601/169339

ณัฐยา พรหมรศ. (2565). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าออนไลน์ ช่วงก่อนและระหว่างภาวะ

วิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2566 , จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4500/1/TP%20MM.001%

pdf

ทัศนาภรณ์ ธีรพงษ์พิพัฒน์. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารลูกค้าสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์และคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคต่อธุรกิจ

เครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566 ,จาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/3672/1/

TP%20MM.046%202562.pdf

ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2566 , จาก https://e-

research.siam.edu/wp-content/uploads/2021/03/MBA- 2020-IS-Factors-Affecting-Decision-Making-of-Product-Purchasing.pdf

มณีรัตน์ เกษร และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2565). ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตัวแทนนำเข้าส่งออก. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม

, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/252319/173489

วันดี รัตนกายแก้ว. (2554). พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุค กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศึกษา กังสนานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม

, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112445/87619

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2566). ttb analytics คาดธุรกิจบริการดิจิทัลปี 2566 โตแตะ 5.6 แสนล้าน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566 , จาก

https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/digital-Services-2566

อรอนงค์ กลิ่นสุวรรณ์ และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์

ผ่านออนไลน์. วรสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 121-127.

Kidane & Sharma (2022). Factors Affecting Consumers’ purchasing Decision through E-Commerce. Retrieved August 21, 2023,

from https://www.researchgate.net/publication/363377204_Factors_Affecting_Consumers%27_purchasing_Decision_through_

ECommerce#:~:text=Several%20factors%20such%20as%20trust,and%20individual%20attitude%2C%20are%20considered

NAPAPAT CHATMARARAT (2021). POTENTIAL FACTORS AFFECTING PURCHASE INTENTION OF FASHION APPAREL PRODUCT ON THE

ONLINE SHOPPING PLATFORM IN THAILAND. Retrieved August 9, 2023, from https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/

/4320/1/TP%20MM.029%202021.pdf