การวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดจำหน่ายสลากออมสินธนาคารออมสิน เขตบึงกาฬ การวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดจำหน่ายสลากออมสินธนาคารออมสิน เขตบึงกาฬ

Main Article Content

จรรยาภรณ์ ชัยเดช
ธเนศ วัฒนกูล
มานิตย์ ผิวขาว

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานของการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ และ (3) เพื่อเสนอแนะนำกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสิน เขตบึงกาฬเพื่อตอบสนองเป้าหมายและ KPI ให้เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาปรากฎการณ์วิทยา โดยการใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Kls) ผู้วิเคราะห์ จะเป็นผู้ตีความ (Interpretation) สกัดเนื้อหาสาระ (Content Message) จากการสื่อความหมายของผู้ให้ข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม จากบันทึกเอกสาร บทความ การพูด การสอบถาม การสัมภาษณ์ การถอดเทปบันทึกเสียง จนเกิดความอิ่มตัวของข้อมูล (Data Saturation) นั่นคือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมจากตัวอย่างนั้น เกิดความพ้องกัน (Redundancy) และผู้วิจัยไม่พบแนวคิด รูปแบบหรือข้อค้นพบอื่น ๆ แล้วจึงสรุปผลจากผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะการดำเนินงานของการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ คือ สาขามีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สลากออมสิน ซึ่งมีรูปแบบผลตอบแทนที่เป็นการลุ้นรางวัลและอัตราดอกเบี้ยโดยจะมีการออกรางวัลทุกเดือน  (2) กลยุทธ์การจัดการจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ คือ ผู้จัดการสาขาวางแผนกับผู้ช่วยผู้จัดการ มอบหมายงานให้พนักงานปฏิบัติตามคำสั่งธนาคาร และจำหน่ายตามข้อมูล Sale sheet ที่หน้าเคาเตอร์ธนาคารออมสิน และประชุมตอนเช้าก่อนเริ่มงานเพื่อให้ด้านเงินฝากนำข้อมูลอัตราดอกเบี้ย มาอัพเดทให้พนักงานในสาขาฟังเพื่อตอบลูกค้าได้ถูกต้องชัดเจน (3) กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬเพื่อตอบสนองเป้าหมายและ KPI ให้เพิ่มมากขึ้น คือ เสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ดีของธนาคารให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มียอดจัดจำหน่ายสลากออมสินให้ได้ตามเป้าหมาย KPI และให้ได้เพิ่มขึ้นในปีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา ปั่นกลาง. (2558). ปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษ ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในเขตธนาคารออมสินภาค 3 กรุงเทพมหานคร.

เขมจิรา บุญชู. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ.ธนาคารออมสิน เขตปทุมธานี 2”

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management) .วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ชิตวรรณ ดวงพัตร และฐิติวรรณ ศรีเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส..สาขากาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ (2558, หน้า 164, อ้างถึงในณัฐา ฉางชูโต, 2554) .หัวใจของการสื่อสารผ่านเครือข่ายทางสังคมคือการตอบโต้ซึ่งกันและกัน. วิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐ ยงวัฒนา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากดิจิทัลของธนาคารออมสินในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

กรุงเทพฯ: บัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนาคารออมสิน. (2552). “ธนาคารโรงเรียน.” จุลสารออมสิน.(สิงหาคม). โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์. 2552.“ประวัติความเป็นมา.”

สมพงษ์ เส้งมณีย์, โสภัทร นาสวัสดิ์ และนธกฤต วันต๊ะเมล์. (2565). แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้า

การท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 1–10.

นธกฤต วันต๊ะเมล์ (2557). การตลาดออนไลน์ เป็นเครื่องมือ สื่อสารการตลาดที่มีความสําคัญอย่างมากในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ปราณี กาญจน และวิสุทธิ์. (2015) การค้นคว้าแบบอิสระนี้เสนอต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหา

บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภานุพงศ์ เสกทวีลาภ. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีว่าเป็นขั้นตอน (process) ที่เกิดขึ้นทางจิตใจภายในที่บุคคลเริ่มจากได้ยินในเรื่องการยอมรับเทคโนโลยและ

คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการใช้แอปพลิเคชัน เวียบัส (Viabus) ของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี.

มะลิวัลย์ ศุภาหาร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของทีม: กรณีศึกษาเครือข่ายลูกค้าผู้ประกอบการ 2 ของ บจม.ธนาคารกสิกรไทย.

วิไลพร ทัดเทียม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมในรูปแบบสลากออมสินพิเศษ: กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2553). เครือข่ายสังคมออนไลน์น์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน ,สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 13, 2553 จาก

http://vcharkarn. com/varticle/40698/.

สุกฤตา สังข์แก้ว. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัด

ระนอง.

สุจินตนา หงษ์ทอง. ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานลูกค้ารายย่อยและองค์กรชุมชนกลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ.

สุธี ขวัญเงิน. (2559). ความแตกต่างของการจัดการ(Management)และการบริหาร (Administration). วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

สิริพร เจริญผ่อง. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพของการทำงานพนักงานธนาคารออมสินภาค 10.

สิริวดี ชูเชิด (2556 อ้างถึงใน ปัทมาพร ท่อชู, 2558). ประสิทธิภาพการทำงาน. สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สิริศา จักรบุญมา. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทำงานของพนักงานฝ่ายบำรุงรักษาในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Hart, Nwibere and Inyang. (2015). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีและความไว้วางใจ. สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

IM2. (2557). Viral Marketing การตลาดแบบปากต่อปาก. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

Junadi. (2015) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่น Mymo. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

สุวรรณภูมิ.

Neuendorf and Valdiseri. (2016). การยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ (Perceived Usefulness). คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี

สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Peterson & Plowman (1989 อ้างถึงใน อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์ 2556). แนวคิดเกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพของการทำงาน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัย

รามคำแหง.

Vroom and Deci (1997 อ้างถึงใน นลพรรณ บุญฤทธิ์, 2558). การปฏิบัติงานของบุคคลที่จะก่อให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.