การวิเคราะห์กลยุทธ์การร่วมลงทุน สำหรับธุรกิจก่อสร้าง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน สปป. ลาว 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน สปป. ลาว ในธุรกิจก่อสร้าง ที่เป็นธุรกิจร่วมลงทุน สปป. ลาว-ไทย ที่ได้รับใบอนุญาต (Licensed Joint Venture) 3) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์การร่วมลงทุนในธุรกิจก่อสร้างใน สปป. ลาว ที่สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ผลการศึกษาพบว่า 1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ใน สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 สปป.ลาวได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 2) การทำกิจการร่วมค้าในธุรกิจก่อสร้าง ใน สปป.ลาว ภาครัฐจำเป็นต้องกำหนดกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับการร่วมทุนและกิจการร่วมค้า รัฐบาล สปป.ลาวควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุน โดยผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าการทำกิจการร่วมค้าและการทำกิจการค้าร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน รวมทั้งมีการจ่ายภาษีที่ทับซ้อนกัน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างใน สปป.ลาว และแสดงความสนใจในโอกาสร่วมลงทุนในอนาคต แต่ยังคงระมัดระวัง และหาบริษัทที่เชื่อถือได้เพื่อเป็นพันธมิตรด้วย 3) กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขันของการร่วมทุนธุรกิจรับเหมาก่อสร้างใน สปป.ลาว บริษัทมุ่งเน้นการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับความสะดวกระหว่างประเทศ องค์กรควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ เช่น การประมูลโครงการ และใช้รูปแบบการบริการแบบคู่ที่จัดการโดยลาวและบริษัทคู่ค้า ภาครัฐใน สปป.ลาว ควรกำหนดกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับกิจการร่วมค้าและกิจการค้าร่วมเพื่อรองรับการร่วมทุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ภาครัฐบาล ประเทศไทย และ สปป.ลาว ควรมีการกำหนดภาษีของกิจการร่วมค้าให้แตกต่างจากกิจการค้าร่วม ควรมีการจัดทำข้อเสนอในรูปแบบเครดิตพิเศษเพื่อให้ประเทศคู่สัญญาให้ความอนุเคราะห์ในการจัดการปัญญาด้านภาษีซ้ำซ้อนที่เกิดจากประเทศผู้ลงทุน ภาคเอกชนควรมีการส่งเสริมทักษะความรู้ ความสามารถของบุคคลากรในบริษัท อีกทั้งควรมีการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีให้แก่บุคลากร และควรกำหนดข้อกำหนดในสัญญากิจการร่วมค้าถึงการแบ่งปันเทคโนโลยีอย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า. (2565). คาดการณ์อัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจของ สปป.ลาว. สิบค้น ตุลาคม 20, 2565, จาก
https://www.ryt9.com/s/exim/3287100
ธรรมนูญ พิทยาภรณ์. (2533). สถานะทางกฎหมายของกิจการร่วมค้า.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรณี ดุสิตสุวรรณ. (2551). ปัญหาภาษีเงินได้บางประการภายใต้ประมวลรัษฎากรและอนุสัญญาภาษีซ้อน กรณีกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทิน โชติสิงห์. (2557). ความหมายของ Joint Venture. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 20, 2565 จาก https://www.dlo.co.th/author/sutinc
อภิชาต ประสิทธิ์สม. (2550). การบริหารกิจการร่วมค้างานก่อสร้างในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภาพร สุริยะวงศ์. (2552). การดำเนินการกิจการร่วมค้า (joint ventures) ของนักลงทุนไทยใน ส.ป.ป. ลาว บทวิเคราะห์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองและ
ส่งเสริมการลงทุนข้ามชาติใน ส.ป.ป. ลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Harrigan, K. R. (1985). Strategies for Joint Ventures. Lexington, MA: Lexington Books.
Harrigan, K. R. (1986). Managing for Joint Venture Success. Lexington, MA: Lexington Books.
Baird, I. S., Lyles, M. A., Ji, S., & Wharton, R. (1990).Joint Venture Success: A Sino–U.S. Perspective. International Studies of Management &
Organization, 20(1-2), 125-135.
Kathryn, R. H. (1998). Joint ventures and competitive strategy, Strategic Management Journal. 9(2), 141-158.
Kathryn, R. H. (2003). Joint Ventures and Global Strategies. International Business. New York: Routledge.
Killing, J. P. (1983). Strategies for Joint Venture Success. New York: Praeger.
Kogut, B. (1988). Joint Ventures: Theoretical and Empirical Perspectives. Strategic Management Journal, 9,(4), 319–332.
Kojima, K. (1975). International Trade and Foreign Direct Investment: Substitutes or Complements. Hitotsubashi Journal of Economics,
(1), 1-12.
Lorange, P., and Roos, J. (1987). The Impact of National Differences on Cooperative Venture Formation Processes. Working Paper,
Stockholm School of Economics, Institute of International Business
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity.
Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association : California. April 19 – 23.
Wattanakul, T. (2017). Influence of foreign direct investment from Thailand and export on economic growth of Laos. International.
Journal of Applied Business and Economic Research, 15(20), 321–330.
Yadong Lu (1998). Joint venture success in China: How should we select a good partner. Journal of World Business, 33(2),145-166
Yannis, C. (2004). Research joint ventures: A survey in theoretical literature. In European collaboration in research and development:
Business strategies and public policy, Great Britain : MPG Books Bodmin Ltd.