สถานการณ์แรงงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาแนวทางบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงงานนอกระบบพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์กำลังแรงงานตามลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราช และเสนอรูปแบบความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานของนอกระบบการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่ภาคใต้ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมูลค่าและอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในภาคการค้าและบริการมากที่สุด ในขณะเดียวกันจำนวนแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรกรรมมากที่สุดแต่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยที่สุด โดยที่ภาคการค้าและบริการมีอัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ค่าความชำนาญของสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจ (LQ) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าและบริการมีความสามารถในการผลิตและเป็นฐานทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดที่มีต่อระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ในขณะที่กลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยค่า LQ ของภาคการเกษตรมีความสามารถแรงงานสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดมากกว่าระดับภาคใต้
กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งมีจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรกรรมมากที่สุดแต่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยมีจำนวนแรงงานในภาคการค้าและบริการลำดับรองลงมา อีกทั้งแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ดังนั้นทิศทางการพัฒนาแรงงานต้องพิจารณาการยกระดับศักยภาพแรงงานในภาคการเกษตรและภาคการค้าและบริการเพิ่มขึ้น สำหรับข้อเสนอรูปแบบความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานของนอกระบบ มีองค์ประกอบ คือ (1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (2) ทีมงานในพื้นที่ และ (3) กระบวนการการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ทีมงานระดับพื้นที่จะมีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันในคณะทำงาน และมีแนวทางการดำเนินงานเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับพื้นที่ ส่งต่อไปยังระดับอำเภอ และระดับจังหวัดในภาพรวมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2559). รายงานผลการวิจัยตลาดแรงงาน ปี 2559–2560. กรมการจัดหางาน: กระทรวง แรงงาน.
ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพแรงงานไทยในอุตสาหกรรมการ ผลิตไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,
(2), 1-40.
นิรันดร์ จุลทรัพย์, วีนัส ศรีศักดา, กาญจนวัลย์ ปรีชาสุชาติ, ดวงฤดี พ่วงแสง, และ ฉิ้น ประสบพิชัย. (2561). แนวโน้มความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานและ
การจ้างงานในอนาคตกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 834-848.
บุญเลิศ ธีระตระกูล. (2553). แนวโน้มความต้องการแรงงาน ในช่วงปี 2553-2557. กรุงเทพฯ: กองวิจัยตลาดแรงงาน.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2541). รายงานแนวทางการพัฒนากำลังคนรองรับการอุตสาหกรรมในระยะยาว(ม.ป.ป.). สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2556). การศึกษาเพื่อเตรียมการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583: ประชากรฐานและข้อสมมุติ. นครปฐม:
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมหาวิทยาลัมหิดล.
สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2554). การเตรียมความพร้อมของกาลังคนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน เสรีและการ เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม.ป.ป.). สำนักงานนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.
–2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่ม
นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). รายงานการวิจัย การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับ
การเคลื่อนแรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2548). มาตรฐานการจัดจำแนกการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มมาตรฐานสถิติสำนักนโยบายและวิชาการสถิติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2549). การสำรวจความต้องการแรงงานและขาดแคลนแรงงาน. กรุงเทพมหานคร:สำนักสถิติพยากรณ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล ฉบับแปลจาก International Standard Classification of Occupation: ISCO-08.
กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติพยากรณ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). คู่มือการปฏิบัติงานสนามโครงการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มสถิติแรงงาน
สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม.
อังศุธร เถื่อนนาดี. (2559). การวิเคราะห์ความต้องการแรงงานในเชิงคุณภาพของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรีเมื่อมีการเปิดเสรีประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 3(2), 34-49.
Jitsuchon, S. (2012). Thailand in a middle-income trap. TDRI Quarterly Review: 27(2), pp. 13-20.