ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ธรรมวิมล สุขเสริม
ณัฏฐกิตติ์ โรจนโภคินเดชะกุล
นภดล พัฒนะศิษอุบล
ดุสิต ศรีสร้อย
ดุสิต จักรศิลป์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีที่ใช้ อินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดจำนวน 374,090 เลขหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสรับรู้และเข้าถึงการใช้งานระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด โดยมีระยะเวลาของการสำรวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุในช่วง 31 – 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พบว่า ความคาดหวังในประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.58, SD = 0.68) และความรู้สึกไม่สบายใจในการใช้เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 2.43, SD = 0.98) สำหรับผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่า การมองเทคโนโลยีในแง่ดี สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ความคาดหวังในความพยายาม การสร้างนวัตกรรมส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งาน โมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี ความเคยชิน แรงจูงใจด้านความชอบ อิทธิพลทางสังคม และความรู้สึกไม่สบายใจในการใช้เทคโนโลยีไม่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ทั้งนี้ การให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีได้นั้น ควรมีการสื่อสารไปยังผู้ใช้งาน สร้างความเข้าใจ รวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้ใช้งานให้มีความสนใจ และมีความเข้าใจ เพื่อเกิดการยอมรับเทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ใช้งานรวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประเทศไทยที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เนื่องจากสามารถลดต้นทุนในการผลิตและจัดเก็บธนบัตร อีกทั้งยังสะดวกต่อการใช้เงินและการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงความปลอดภัยที่อาจมีความเสี่ยงในการใช้เงินสด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: ธรรมสาร.

กิตติศักดิ์ คุณาฤทธิพล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้แอพพลิเคชัน BU Mobile. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ.

จักรพงษ์ สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี: กรณีศึกษาการใช้บริการสื่อสารระหว่างกันผ่านข้อความและรูปภาพแบบทันทีผ่าน

โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

มานิต สุวรรณวงศ์พร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการการช่วยเหลือทางการเงินผ่านแชทบอท. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB)

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การใช้งานโมบายแบงก์กิ้งในประเทศไทย: รายงานผลสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน.

สืบค้น 12 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/ICT/Survey%20In%20Household/2020/fullreport_63.pdf.

AbuShanab, E., & Pearson, J. M. (2007). Internet banking in Jordan the unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT)

perspective, Journal of Systems, and Information Technology, 9(1), 78-97.

Guo, H., Huang, X., & Craig, P. (2015). Factors Influencing the user acceptance of Alipay, The International Conference on Economy,

Management and Education Technology (pp. 344–347). Bali, Indonesia: Mid Sweden University.

Hair, H. J. (2005). Outcomes for children and adolescents after residential treatment: A review of research from 1993 to 2003, Journal of

Child and Family Studies, 14(4), 551-575.

Jansorn, T. (2013). Analysis of acceptance factors for electronic payment services of thai people based on UTAUT( Master's Thesis).

Mahidol University.

Mohan, S. (2014). Consumer’s acceptance towards NFC mobile payments (Master's Thesis). University of Amsterdam.

Mohanarajan, A. (2016). Business as an art form (Master’s thesis). Ontario College of Art and Design University.

Morosan, C., & DeFranco, A. (2016). It's about time: revisiting UTAUT2 to examine consumers’ intentions to use NFC mobile payments in

hotels, International Journal of Hospitality Management, 53(1), 17-29.

Oxford business group. (2016). The Report Thailand 2016, Country Reports Web site. Retrieved by January 28, 2017, from

https://www.oxfordbusinessgroup.com/ analysis/going-digital-digitalisation-becoming-norm-banking-sector.

Parasuraman, A. (2000). Technology Readiness Index (TRI): A multiple-item scale to measure readiness to embrace new technologies.

Journal of Service Research, 2(4), 307-320. https://doi.org/10.1177/109467050024001

Parasuraman, A., & Colby, C. L. (2015). An updated and streamlined technology readiness index: TRI 2.0, Journal of Service Research,

(1), 59-74. https://doi.org/10.1177/1094670514539730

Rondan-Cataluña, F. J., Arenas-Gaitán, J., & Ramírez-Correa, P. E. (2015). A comparison of the different versions of popular technology

acceptance models, Kybernetes, 44(5), 788-805.

Shambare, R. (2013). Technology readiness and EFTPoS usage in Zimbabwe, International Journal of Business and Economic

Development, 1(1), 13-22.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS

Quarterly, 27(3), 425-478. https://doi.org/10.2307/30036540

Venkatesh, V., Thong, J. Y. L., & Xu, X. (2012). Consumer acceptance and use of information technology: Extending the unified theory of

acceptance and use of technology. MIS Quarterly, 36(1), 157-178. https://doi.org/10.2307/41410412

Wearesocial. (2022). Digital 2022. Retrieved December 17, 2022, from https://wearesocial.com/us/blog/2022/01/digital-2022.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.), New York: Harper and Row Publications.