บทวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาประเทศจีนและประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน รัฐบาลแต่ละประเทศให้ความสนใจกับปัญหาด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่งมีสาเหตุจากการปล่อยมลพิษจากยานยนต์สันดาปภายใน และด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ภาครัฐในหลายประเทศ รวมถึง ประเทศจีนและประเทศไทย ได้สนับสนุนและออกนโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจีนเป็นประเทศที่ภาครัฐได้มีนโยบายสนับสนุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง จึงทำให้กลายเป็นผู้ผลิตและขายยานยนต์ไฟฟ้า (New Energy Vehicles: NEVs) อันดับ 1 ของโลก 9 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2558-2566 ที่ครอบคลุมถึง ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EVs) และยานยนต์พลังงานทางเลือกใหม่ ทั้งนี้ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมด้านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาประเทศจีนและประเทศไทย และการศึกษานี้มีระเบียบวิธีวิจัยด้วยการทบทวนเอกสารต่าง ๆ รวมทั้ง แนวคิด ทฤษฎี นโยบาย/มาตรการภาครัฐ วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายภาครัฐระหว่างประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จด้านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และประเทศไทย
โดยจากผลการศึกษาพบว่า นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐจะมีส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนและผู้บริโภคของทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศจีน ภาครัฐมีการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปี 2549 โดยออกนโยบายและมาตรการภาครัฐสนับสนุน ทั้งที่เป็นรูปแบบของสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน รวมถึง การกำหนดกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีในระยะยาวอย่างชัดเจน เช่น
แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “Made in China 2025” โดยสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะที่ ภาครัฐของประเทศไทย มีนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ยังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศจีน โดยเริ่มมีนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2558 เช่น มาตรการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมผ่านการส่งเสริมการลงทุน (BOI), การขยายสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้ง ประเทศจีนถือเป็นประเทศต้นแบบที่ดีให้กับภาครัฐของประเทศไทยเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, และการไฟฟ้านครหลวง. (2559). รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์
ไฟฟ้าของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.mea.or.th/profile/3253
การไฟฟ้านครหลวง. (2565). แผนวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวงปี 2563-2565 (ปรับปรุงครั้งที่ 2) และปี 2566-2570. สืบค้นจาก
https://www.mea.or.th/upload/download/file_ffbd45d735fddecf0808a5bd77f27899.pdf
ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์, รุ่งนภา โอภาสปัญญาสาร, เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ และภูรี สิรสุนทร. (2562). การวิเคราะห์พฤติกรรมการยอมรับยานยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค.
สืบค้นจาก https://www.econ.tu.ac.th/uploads/discussion_paper/file/20200805/ejqvwx013458.pdf
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2564). แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย.
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2564). แสดงถึง BOI ส่งเสริมประเภทกิจการยานพาหนะไฟฟ้าครบวงจร. สืบค้นจากhttps://news.evat.online/boi-prepares-e-
newsletter-for-september-2021/
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2564). จำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะทั่วประเทศ ณ วันที่ 22 กันยายน 2564. สืบค้นจาก
http://www.evat.or.th/attachments/view/?attach_id=256246
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2565). นโยบายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุในต่างประเทศ. สืบค้นจาก
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2565). การส่งเสริมและพัฒนาเกี่ยวกับสถานีอัดประจุเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย.
สืบค้นจาก https://news.evat.online/kaarsngesrimaelaphathnaaekiiywkabsthaanii-adpracchuephuue-r-
ngrabyaanyntaiffaaainpraethsaithy/
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า. (2567). สถานการณ์ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย เดือนสิงหาคม 2567. สืบค้นจาก https://evat.or.th/images/evinfo/current-
status/2024-09/Poster_HEV%20PHEV%20BEV_2024%20Aug%2031_TH&EN.png
China Association of Automobile Manufacturers. (2022a). Yesterday, Today, and Tomorrow of China's New Energy Vehicles. Retrieved
from http://en.caam.org.cn/Index/show/catid/21/id/1934.html
China Association of Automobile Manufacturers. (2022b). Two sessions: key words for China’s auto industry. Retrieved from
http://en.caam.org.cn/Index/show/catid/2/id/1939.html
China Association of Automobile Manufacturers. (2022c). Operation of national electric vehicle charging and swapping infrastructure in
Retrieved from http://en.caam.org.cn/Index/show/catid/42/id/1840.h
China Internet Information Center. (2024). China's NEV industry remains on fast track. Retrieved from
http://www.china.org.cn/business/2024-02/04/content_116986074.htm
Coffman, M., Bernstein, P., & Wee, S. (2017). Electric Vehicles Revisited: A Review of Factors That Affect Adoption. Transport Reviews,
(1), 79-93.
Cyber Policy Center, Stanford University. (2022). The 14th Five-Year Plan for National Informatization–Dec. 2021. Retrieved from
Du, J., & Ouyang, D. (2017). Progress of Chinese Electric Vehicles Industrialization in 2015: A Review. Applied Energy, 188, 529-546.
IEA. (2024). Global EV Outlook 2024, Paris: IEA. Retrieved from https://www.iea.org/reports/global-ev-outlook-2024
International Council on Clean Transportation. (2021) China’s New Energy Vehicle Industrial Development Plan for 2021 to 2035.
Retrieved from https://theicct.org/wp-content/uploads/2021/12/China-new-vehicle-industrial-dev-plan-jun2021.pdf
Liao, F., Molin, E., & van Wee, B. (2017). Consumer Preferences for Electric Vehicles: A Literature Review. Transport Reviews, 37(3), 252-
Rajper, S. Z., & Albrecht, J. (2020). Prospects of Electric Vehicles in The Developing Countries: A Literature Review. Sustainability, 12(5),
Sanguesa, J. A., Torres-Sanz, V., Garrido, P., Martinez, F. J., & Marquez-Barja, J. M. (2021). A Review on Electric Vehicles: Technologies and
Challenges. Smart Cities, 4(1), 372-404.
Sharma, S., Panwar, A. K., & Tripathi, M. M. (2020). Storage Technologies for Electric Vehicles. Journal of Traffic and Transportation
Engineering (English Edition), 7(3), 340-361.
Statista Research Department. (2022). Top Ten Leading Companies of Public or Fleet Electric Vehicle Charging Stations in China as of
February 2022. Retrieved from https://www.statista.com/statistics/.
Sun, X., Li, Z., Wang, X., & Li, C. (2019). Technology Development of Electric Vehicles: A Review. Energies, 13(1), 90.
Thanet Ratanakul. (2019). เมื่อไหร่ยานยนต์ไฟฟ้าจะวิ่งทั่วถนนไทย? ส่องนโยบาย Electric Vehicle ในประเทศอื่น.
The EV-Volumes. (2022). Global EV Sales for 2021. Retrieved from https://www.ev-volumes.com/country/total-world-plug-in-vehicle-
volumes/
The General Office of Fujian Provincial People's Government. (2021). Outline of the 14th Five-Year Plan (2021-2025) for National
Economic and Social Development and Vision 2035 of the People's Republic of China.
The State Council of the People's Republic of China. (2021). 十四五国家信息化规划 2021年12月.Retrieved from
http://www.gov.cn/xinwen/2021-12/28/5664873/files/1760823a103e4d75ac681564fe481af4.pdf
Van Horn, C. E. (1976). Intergovernmental Policy Implementation: The Comprehensive Employment and Training Act. The Ohio State
University.
Zhang, Y., Yu, Y., & Zou, B. (2011). Analyzing Public Awareness and Acceptance of Alternative Fuel Vehicles in China: The Case of EV.
Energy Policy, 39(11), 7015-7024.