บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

Main Article Content

บุษกร ถาวรประสิทธ์ิ
เกศแก้ว เจริญวิริยะภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรม อาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนของผู้ประกอบการและเพื่อศึกษาการมีส่วน ร่วมในการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน โดยเก็บ ข้อมูลจากผู้ประกอบการจำนวน 203 รายและหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนจำนวน 100 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือระดับน้อยในทุกด้าน ส่วนการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามเพศ อายุ ประสบการณ์และรายได้ของผู้ประกอบการกับการได้รับความช่วยเหลือ พบว่าตัวแปรดังกล่าวส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเฉลี่ยที่มีต่อการได้รับความช่วยเหลือไม่แตกต่างกันสำหรับ ผลการศึกษาในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน พบว่าส่วนใหญ่มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลืออยู่ใน ระดับปานกลาง ยกเว้นประเด็นการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มซึ่งอยู่ในระดับมากส่วนการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของหน่วยงาน ที่สังกัดและงบประมาณประจำปีที่หน่วยงาน ได้รับกับการมีส่วนร่วมในการสนับสนุน พบว่า ตัวแปรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเฉลี่ยที่มีต่อการมีส่วน ร่วมในการสนับสนุนไม่แตกต่างกัน

 

The Roles of Government and Private Agencies in the Promotion of Potential Development of Traditional Seafood Processing Industry around Songkhla Lake Basin

The study has two objectives. 1) It aimed to study the receipt of producer in the promotion of potential development. 2) It studied the participation of the government and private agencies in the promotion of potential development. The data were collected from 203 producers and 100 agencies. The study employed percentage, mean, standard deviation and One-Way Analysis of Variance (ANOVA) to analyze the data. The main finings can be summarized as follows. According to the producers, most of them received the less level in all categories of the promotion from the government and private agencies. The results of One-Way ANOVA tests were found that most of variables were no evidence with the promotion from the government and private agencies. According to the government and private agency, most of agencies had the fair participatory level except the promotion of the group correcting. It had the high level. The results of One-Way ANOVA tests were found that most of variables were no evidence with the participation of the government and private agencies except annual budgets of agencies.

Article Details

บท
บทความวิจัย