ความเหลื่อมล้ำทางการคลังของเทศบาล: บทสำรวจปรากฏการณ์ "ใครมีเงินมากยิ่งได้มาก"
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางการคลังของเทศบาลในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจเทศบาลในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 972 แห่ง และต้องการแสดงให้เห็นว่ามาตรการในการลดความเหลื่อมล้าทางการคลังโดยใช้เงินอุดหนุนจากรัฐ (intergovernmental fiscal transfers) ยังมิได้มีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวมากนัก ผู้เขียนบทความจึงเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังให้แก่เทศบาล โดยการเพิ่มตัวแปรที่สะท้อนถึงระดับการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น หรือตัวแปรที่บ่งชี้ถึงระดับความต้องการด้านงบประมาณและ/หรือขีดความสามารถในการหารายได้ของท้องถิ่น เป็นต้น อันจะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังได้ต่อไป
Municipal Fiscal Disparity: Are Rich Cities Getting More of the Pooled Resources?
This paper explores a case of fiscal disparity among Thai municipalities in fiscal year 2009. Data from more than nine hundred municipalities of varying sizes were obtained from mail survey. The findings show that fiscal capacity of Thai municipalities is indisputably disparate and the existing fiscal transfer measure has not yet helped minimize the fiscal disparity gap. Therefore, the author calls for the redesign of intergovernmental fiscal transfer formulae that aim to equalize municipal fiscal capabilities. Indices of municipal fiscal capability and/or the level of socio-economic development can be factored into the transfer allocation formulae so that the horizontal fiscal equality shall be enhanced.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช