ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ ดัชนี Nikkei ของประเทศญี่ปุ่น ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง และ ดัชนี KSE Composite ของประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงเวลา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 ถึงเดือนธันวาคม 2553 โดยใช้ข้อมูลรายเดือน รวมระยะเวลาทั้งหมด 120 เดือน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้เทคนิคการหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration) การปรับตัวในระยะสั้น (Error Correction Mechanism) ด้วยวิธีของ Johansen และการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิธี Granger causality ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรทั้งหมดที่นำมาศึกษา คือ SET, Nikkei, Hang Seng และ KSE Composite นั้นข้อมูลจะมีลักษณะไม่นิ่ง (Non-stationary) และมี order of integrated ที่อันดับเดียวกัน คือ อันดับที่หนึ่ง [I(1)] และเมื่อทำการทดสอบ Cointegration และ Error Correction Mechanism ตามด้วยวิธีของ Johansen ซึ่งพบว่า ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไม่มีความสัมพันธ์กันเชิงดุลยภาพในระยะยาว ดังนั้นจึงไม่มีการปรับตัวในระยะสั้น และเมื่อทำการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิธี Granger Causality พบว่าตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวแต่ละตัวไม่ได้เป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกันยกเว้น ดัชนี KSE Composite ที่เป็นตัวกำหนดดัชนี Hang Seng เพียงตัวแปรเดียว
Cointegration between Stock Exchange of Thailand and Stock Exchanges in East Asia
The objective of this study is to study the long-run relationship between stock exchange of Thailand and stock exchanges in East Asia, including index Nikkei, Japan's index, Hang Seng of Hong Kong and index KSE Composite of South Korea. Monthly data in the period from January 2001 to December 2010, 120 observations, were employed. Cointegration and Error Correction Mechanism (ECM) according to Johansen's approach and Granger causality were used to analyze the long-run relationship. The results showed that all variables showed that the SET, Nikkei, Hang Seng and the KSE Composite Data are stationary in the first level [I(1)]. The Cointegration and ECM test results showed that the index price of the stock exchange of Thailand and stock exchanges in East Asia did not correlate in the long-run. Therefore, they had no adjustment in the short-run. Accordingly, Granger causality test results found that only one unidirectional causality running from KSE Composite Index to the Hang Seng Index.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช