การลงทุนในเด็กของครัวเรือนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเสนอการวิเคราะห์การลงทุนของครัวเรือนในเด็ก โดยอนุมานจากข้อมูลครัวเรือนในปี พ.ศ. 2552 รายจ่ายการลงทุนประกอบด้วยสามส่วน คือ รายจ่ายของครัวเรือนด้านการศึกษารายจ่ายหมวดอาหารที่ให้กับเด็ก และค่าเสียโอกาสของแม่บ้านเนื่องจากการทำหน้าที่ดูแลบ้านและเด็กแทนการทำงานนอกบ้านมีข้อค้นพบสำคัญๆ ได้แก่ หนึ่ง รายจ่ายการลงทุนในเด็กของครัวเรือนไทยมีมูลค่าประมาณล้านบาท สอง ความเหลื่อมล้ำของการลงทุนในเด็กระหว่างครัวเรือนรวยและครัวเรือนยากจน สาม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสของเด็กอายุ 0 - 14 ปี ในกลุ่มครัวเรือนยากจน โดยเสนอให้มีกองทุนเพิ่มโอกาสการศึกษาให้เด็กโดยรัฐบาล เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรรงบประมาณให้การอุดหนุนเป็นเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน ควบคู่กับระบบติดตาม เพื่อลดอัตราการออกกลางคันและเพิ่มอัตราการคงอยู่ในโรงเรียนในกลุ่มเด็กยากจน
This paper analyzes investment in children by Thai households with the use of household survey data of 2009. Three types of household spending are investigated, namely, a) educational expenses by household, b) food expenditures attributable to children and c) opportunity cost of housewife who chose to perform household production function instead of being employed outside home. Our findings are noted: first, household investment in children for the whole country was estimated to be over 300 billion baht as of 2009; secondly, an inequality of household investment in children was clearly evidenced; thirdly, the public policy to reduce the investment gap among low-income household are discussed; one option is to establish a fund with joint-contribution from government, municipalities, and tambon administrative organizations to be operated with an assignment of screening the disadvantaged children for free-of-obligation grant.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช