การประเมินช่องว่างสมรรถนะ กรณีศึกษา องค์กรทางด้านเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร

Main Article Content

จงรักษ์ หงษ์งาม

บทคัดย่อ

สมรรถนะ หรือที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้บัญญัติไว้ว่าหมายถึง “คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆในองค์กร”(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2548) สมรรถนะของพนักงานกับผลงานเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาองค์กร โดยทั่วไปองค์กรมักมีความคาดหวังสมรรถนะในความสามารถนี้ในพนักงานโดยนายจ้างหรือองค์กรในขณะที่สมรรถนะที่เป็นจริงของพนักงานอาจตรงตามความคาดหวัง หรืออาจแตกต่างจากความคาดหวังของนายจ้าง ความแตกต่างนี้เรียกว่าเกิด ช่องว่างสมรรถนะ (Competency Gap) งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์เพื่อค้นหาช่องว่างสมรรถนะดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างในกรณีศึกษานี้คือกลุ่มบุคลากรขององค์กรที่ประกอบธุรกิจทาง เกษตรอุตสาหกรรมอาหาร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากจำนวนบุคลากรทั้งหมดขององค์กร จำนวน 221 คน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทงานคือ 1) ผู้จัดการ 2) พนักงานฝ่ายขาย/ตลาด 3) พนักงานในโรงงาน 4) เสมียนสำนักงาน และ 5) พนักงานวิชาชีพ/วิชาการ โดยค้นหาระดับที่นายจ้างคาดหวังจากการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group) ในขณะที่สมรรถนะที่เป็นจริง วัดจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบวัดทางจิตวิทยา DISC (จอมยุทธ์:Dominance, ดารา: Influence, ศิราณี : Steadiness,ฤาษี: Compliance) ผลการศึกษาพบว่าตำแหน่ง ผู้บริหาร ไม่เกิดช่องว่างสมรรถนะ ตำแหน่ง ขาย/ตลาด เกิดช่องว่างสมรรถนะคือ ยังขาดบุคลิกจอมยุทธ์(บุคลิคที่กล้าตัดสินใจ เน้นประสิทธิภาพงาน) ตำแหน่งพนักงานโรงงาน ขาดบุคลิกจอมยุทธ์ ตำแหน่งเสมียนสำนักงาน ขาดบุคลิกฤาษี (ทำงานรอบคอบ ละเอียดปราณีต) ตำแหน่งวิชาชีพ/วิชาการ ไม่เกิดช่องว่างสมรรถนะ โดยสรุป องค์กรควรเพิ่มการอบรม (On the Job Training) มุ่งเน้นด้านภาวะผู้นำ (จอมยุทธ์) และมุ้งเน้นความรอบคอบ คิดวิเคราะห์ (ฤาษี) ในกลุ่มงานที่ขาดตามลำดับ

 

Competency Gap in Agro-industry Company

Competency, as defined by the Office of the Civil Service Commission, refers to personal characteristics that enable a person to outperform his colleagues. This study aims to identify competency gap in 5 different job positions in a company namely Manager, Sales and Marketing Personnel, Production Staff, Administrative Staff and Professional. Each of these job positions requires different skill sets. The competency gap was the difference between characteristics that supervisor thinks their staff should possess and the characteristics reported by their staff. A focus group was conducted with 10 managers to draw expected characteristics of each job and questionnaires were distributed to company staff to explain their personality. The personality test employed in this study was DISC (DISC focuses on four dimensions of human personality: Dominance, Influence, Steadiness, and Compliance). The findings revealed that competency gap was found in 3 job positions: Sales and Marketing Personnel, Production Staff and Administrative Staff.

Article Details

บท
บทความวิจัย