ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ตัวต่อตัวจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 222 ตัวอย่าง ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบลำดับ (Ordered logistic regression) พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารปรุงสำเร็จรูปมากกว่าทำอาหารรับประทานเอง แต่หากผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกซื้ออาหารสดด้วยตนเอง จะให้ความสำคัญกับคุณลักษณะด้านความสดของอาหารเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก รองลงมาคือ ราคา สำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์ พบว่า ผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อเนื้อสุกรอินทรีย์ในระดับร้อยละที่สูง เป็นผู้บริโภคเพศชาย มีสมาชิกในครัวเรือนอายุต่ำกว่า 18 ปีอาศัยอยู่ร่วมด้วย มีรายได้ครัวเรือนมากกว่า 20,000 บาท/เดือน เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญในด้านสุขภาพและความปลอดภัยของอาหารที่จะรับประทานโดยดูจากฉลากหรือมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นผู้ที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) ดังนั้นในการพัฒนาตลาดเนื้อสุกรอินทรีย์ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว
Consumers’ Willingness to Pay for Organic Pork in Khon Kaen Province
This study investigated the significant factors that influenced the consumers’ willingness to pay price premiums for organic pork. A structured questionnaire was used to collect the data through the survey in a face to face interview. Altogether 222 consumers were administered with consumers who were residents of the Mueang Municipality of Khon Kaen Province. The surveyed data were analyzed using ordered logistic regression method. The descriptive result revealed the majority of the households often dined out or consumed take-away food. However, consumers’ preference towards food product attributes when they had a chance to purchase a fresh food were the freshness of food products as the most important attribute followed by price of products. Furthermore, the result of ordered logit regression analysis showed that the male consumers who had children aged less than 18 years in the household, had monthly household income greater than 20,000 baht, paid more attention to health and food safety and had concerned about animal welfare, had significant impacts on the level of consumes’ willingness to pay a premium price for organic pork.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช