โครงสร้างชนิดราคาเงินสดที่เหมาะสมของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม้ในปัจจุบันการดำเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะใช้การเบิกจ่ายค่าสินค้าผ่านระบบการชำระเงินสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) มากขึ้น แต่การใช้เงินสดประเภทธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ ยังคงมีความสำคัญอยู่ ฉะนั้น โครงสร้างชนิดราคาเงินสดที่เหมาะสมของไทยจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเพราะมีประเด็นของต้นทุนและประสิทธิภาพที่เกิดจากผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝั่ง คือ 1) ฝั่งอุปสงค์ ได้แก่ประชาชนผู้ใช้เงินสด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า 2) ฝั่งอุปทาน ได้แก่ ผู้ผลิตเงินสดทั้งกรมธนารักษ์ที่ดูแลเหรียญกษาปณ์และธนาคารกลางที่ดูแลธนบัตร จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการจัดให้มีเงินสด เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร จะเลือกโครงสร้างชนิดราคาเงินสดที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์แบบจาลองโครงสร้างชนิดราคาเงินสดที่เหมาะสมของไทย ด้วยเทคนิคการจำลองสถานการณ์เพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Simulation – Optimization) กรณีของธนบัตร พบว่า ระบบเศรษฐกิจไทยจาเป็น ต้องทำการปรับโครงสร้างดังกล่าวอีกวาระหนึ่ง โดยจะเรียกเก็บธนบัตร 50 บาทเข้าคลังทันที ออกธนบัตรชนิดราคา 200 บาท ในปี 2559 ในขณะที่ปี 2564 ให้ยกเลิกเหรียญสลึง ผลิตเหรียญ 20 บาทออกมาใช้แทนธนบัตร 20 บาท และพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา 2,000 บาท ออกมาหมุนเวียนในระบบ
The Optimal Structure of Thai Currency Denomination
In Thailand, the payment systems rely predominately on cash settlement. The Optimal Structure of Thai Currency Denomination presents an analytical study involving cost and efficiency on both demand and supply aspects of currency usage and denomination. Demand side deals with payers and payees while supply side deals with the Bank of Thailand's issuances of banknotes and the Treasury Department's minting for coin circulation. These institutions need to consider appropriate currency denomination and make their operation compatible with real demand and supply capacity. According to the paper's findings using the model based on Simulation – Optimization technique, the 20-year anticipated plan would suggest to eliminate 50-baht banknotes. In 2016, the study proposes the issuance of 200-baht banknotes into circulation. In 2021, 50-baht banknotes should re-enter in the denomination system, together with the new 2000-baht banknotes. At the same time, 0.25-baht coin should be eliminated and 20-baht banknotes should be replaced by 20-baht coins.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช