การวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซมลพิษในภูมิภาคอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการปล่อยก๊าซมลพิษ จากการดำเนินนโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซมลพิษทั้งแบบเข้มงวดและแบบไม่เข้มงวดในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมหนัก และภาคคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้เงื่อนไขการค้าเสรีในประชาคมอาเซียน และเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและประเทศคู่ค้าหลักคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปแบบพลวัต และฐานข้อมูล GTAP เวอร์ชั่น 8.1 สำหรับการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2573 ผลการวิจัยพบว่าประเทศรายได้ต่ำ เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ได้รับผลกระทบเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากมีระดับเทคโนโลยีการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้แต่ละประเทศในภูมิภาคมีการปรับเพิ่มการส่งออกในกลุ่มสินค้าประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก รองลงมาคือกลุ่มสินค้าประเภทพลังงานเพื่อชดเชยความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซมลพิษ สำหรับปริมาณก๊าซมลพิษในภูมิภาคนั้นพบว่านโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซมลพิษทั้งประเภทเข้มงวดและไม่เข้มงวด ส่งผลให้ก๊าซมลพิษลดลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยก๊าซมลพิษที่ไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจกจะมีอัตราการลดลง มากกว่าก๊าซมลพิษที่เป็นก๊าซเรือนกระจก และจากผลการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลพบว่านโยบายควบคุมการปล่อยก๊าซมลพิษแบบเข้มงวดมีประสิทธิผลสูงกว่าแบบไม่เข้มงวด
The Consequences from Imposing an Emission Policy in ASEAN
The purpose of this paper was to examine all economic and emission effects of both lax and stringent emission policies imposed on the 3 main polluting sectors in ASEAN: agriculture, capital-intensive manufacture, and transportation and communication under the trade liberalized context in the ASEAN community and its FTAs with Australia, New Zealand, China, India, Japan, and South Korea. The Dynamic CGE model was obtained with GTAP database version 8.1 due to the ability to capture interactions of each region both in short-term and long-term. The findings illustrated that an emission policy imposed in ASEAN had more negative effects on the economies of low income countries, such as Cambodia, Lao, Myanmar, and Vietnam (CLMV) than other ASEAN members. An increasing export in labor-intensive goods and energy products would be a key strategy for ASEAN in order to compensate the losses from an emission policy. A stringent emission policy would lead ASEAN to an achievement of cost-effectiveness rather than a lax emission policy.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช