วัยสูงอายุกับความพร้อมในการรับมือของรัฐบาลไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ได้นำเอาวิธีการวิจัยเชิงสำรวจมาใช้ร่วมกับวิธีการดำเนินงานด้วยระเบียบวิธีวิจัยของการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้การศึกษา และค้นคว้าเพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์ของผู้สูงวัยกับการเตรียมความพร้อมในการรับมือของรัฐบาลไทย เนื่องจากสถานการณ์นี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึน้ ในปัจจุบันของประเทศไทย ดังนั้น บทความนีจึ้งใช้การศึกษาโดยมีการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ และการตีความจากข้อมูลที่เป็นจริงร่วมกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เน้นการเสนอแนะให้ภาครัฐได้ตระหนักว่ามีปัจจัยใดหรือความต้องการใดบ้างในวัยสูงอายุเพื่อใช้เป็นแนวทางหรือเพื่อใช้พิจารณาถึงความสอดคล้องกับนโยบายรัฐในเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อการรองรับการก้าวย่างเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัยของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่ส่งผลเพื่อให้ผู้สูงวัยได้มีความพร้อมและการเตรียมตัวที่ดีนั้น ควรเริ่มต้นจากตัวผู้สูงวัยเองในมิติทางด้านการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่ผู้สูงวัยสะสมมาในช่วงวัยแรงงาน รวมถึงฝ่ายรัฐบาลที่ควรเตรียมแนวทางรองรับก่อนที่วัยแรงงานจะถึงช่วงเวลาของวัยเกษียณอายุ ดังนั้นการสื่อสารของภาครัฐสู่ประชาชนคนไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการตระหนักถึงเรื่องการเตรียมตนเองในช่วงวัยแรงงานให้พร้อมก่อนการเข้าสู่วัยสูงอายุ นอกจากนี้การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของกลุ่มผู้สูงวัยกับสมาชิกในครอบครัวถือได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างทัศนคติและความรู้สึกที่ดีให้กับตนเองรวมถึงการสร้างการตระหนักรู้ในเรื่องคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงวัยด้วย
ผลจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเรื่องการเตรียมความพร้อมกับการรับมือของรัฐบาลประเทศไทยกับกลุ่มผู้สูงวัยพบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ส่วนงานได้ริเริ่มจัดให้มีบริการที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมยุค สูงวัยของประเทศไทยในเบือ้ งต้นได้เป็นอย่างดี เช่น การจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุโดยมีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช