ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อเงื่อนไขในสัญญาการขายสับปะรดโรงงานในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อเงื่อนไขในสัญญาการขายสับปะรดโรงงาน และวิเคราะห์ความพึงพอใจ/อรรถประโยชน์ของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม โดยการศึกษาอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างผู้ปลูกสับปะรดในจังหวัดระยอง จำนวน 300 ราย ในช่วงปีเพาะปลูก 2558 ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม เพื่อหาลำดับความสำคัญของคุณลักษณะในเงื่อนไขสัญญาการขายสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรมีความพึงพอใจ และทำการแบ่งกลุ่มเกษตรกรโดยวิธีการวิเคราะห์คลัสเตอร์ ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะที่เกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การประกันความเสียหายของผลผลิต รองลงมาคือ ราคารับซื้อ ปริมาณการรับซื้อ และการจัดหาปัจจัยการผลิต ตามลำดับ โดยชุดคุณลักษณะเงื่อนไขในสัญญาที่ให้ค่าอรรถประโยชน์รวมสูงสุดคือ สัญญาที่มีการประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ มีการรับซื้อผลผลิตทั้งหมด และควรมีการประกันความเสียหายของผลผลิตให้บางส่วน จากการแบ่งกลุ่มเกษตรกรตามความพึงพอใจต่อลักษณะเงื่อนไขในสัญญา พบว่า จำนวนกลุ่มที่เหมาะสมที่สุดคือ 2 กลุ่ม โดยเกษตรกรในกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ มีจำนวนพื้นที่ปลูกสับปะรดอยู่ระหว่าง 20-40 ไร่ และมีการเข้าร่วมอบรมเพิ่มความรู้ทางวิชาการเกษตร ซึ่งจะให้ความสำคัญกับคุณลักษณะในเงื่อนไขสัญญาด้านการประกันความเสียหายของผลผลิตมากที่สุด ขณะที่เกษตรกร ในกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่มีจำนวนพื้นที่ปลูกขนาดเล็กและไม่เคยได้รับการอบรมเพิ่มความรู้ทางวิชาการเกษตร โดยจะให้ความสำคัญกับคุณลักษณะในเงื่อนไขสัญญาด้านราคารับซื้อมากที่สุด
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอันได้แก่ เกษตรกร โรงงานแปรรูปสับปะรด และภาครัฐ ควรร่วมกันพิจารณาในการกำหนดราคาประกันขั้นต่ำที่เหมาะสมตามต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ในรายละเอียดของสัญญาควรมีการประกันความเสียหายของผลผลิตให้แก่เกษตรกรที่ทำสัญญาด้วย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการผลิตมากขึ้น
Farmers’ Preferences on Conditions in Manufacturing Pineapple Sale Contract in Rayong Province
This paper aimed to evaluate farmers’ preferences on condition attributes in a manufacturing pineapple sale contract and analysis farmers’ preferences/utilities for each group. Data were collected from 300 pineapple farmers in Rayong province in the cropping season 2015 using paper-based questionnaires. Conjoint analysis model was employed to analyze the attribute ranking. Consequently, farmers were grouped by using cluster.
The analytical results revealed that farmers’ preferences were affected respectively by coverage-crop insurance option, price option, contract quantity and input supply arrangement. Finally, the attribute set that was found to obtain the highest total utility included guaranteed minimum prices, total quantity purchase and partial coverage-crop insurance. The farmers were segmented in 2 groups due to their preferences. The first group of farmers mostly had their planted areas between 20-40 rais and attended at least one training program concerning agricultural knowledge. The most important attribute of the first group was coverage-crop insurance option. Most of the second group farmers had a small area planted and never attended the training. The price option was the most importance attribute for the second group.
The suggestion from this research was that farmers, pineapple manufacturers and related government sectors should jointly set a reasonably minimum guaranteed price that base on the cost of production. Moreover, coverage-crop insurance could be seriously added in a manufacturing pineapple sale contact in order to increase the farmers' confidence in their production.
Article Details
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช