การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวถ้ำภูผาเพชร จังหวัดสตูล

Main Article Content

ประภาพร ยางประยงค์
สุรีรัตน์ ช่วยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 4) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการท่องเที่ยวถ้ำภูผาเพชร จังหวัดสตูลของนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณมีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวถ้ำภูผาเพชร จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลคือการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการท่องเที่ยวถ้ำภูผาเพชร

ผลการศึกษา พบว่า จากการประเมินส่วนผสมทางการตลาดพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \inline \bar{X} = 3.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4 ด้านคือด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ สำหรับด้านการส่งเสริมการตลาด กระบวนการให้บริการ และบุคลากรนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง และ (4) การวิเคราะห์ SWOT พบว่าจุดแข็งคือแหล่งท่องเที่ยว จุดอ่อนคือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่มีการบูรณาการส่วนผสมทางการตลาดที่เป็นรูปธรรมชัดเจน โอกาสคือความนิยมในการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และอุปสรรคคือสถานการณ์ความไม่สงบของจังหวัดในชายแดนภาคใต้สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มศักยภาพของถ้ำภูผาเพชร จังหวัดสตูล โดยการสร้างความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยวจากการนำส่วนผสมทางการตลาดมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม

 

Ecotourism of Thai tourist: The case Visiting Phu Pha Phet Cave, Satun Province

The purposes of this study were: 1) to provide general information on Thai tourist characteristic 2) to explore the behavior of Thai tourists 3) to survey Thai tourists satisfaction towards visiting PhuPhaPhet cave and 4) to analysis strengths, weaknesses, opportunities, andtreats on visiting Phu Pha Phet cave, Satun province. By mix method, quantitative and qualitative researches were applied. For quantitative research, one hundred Thai tourists were selected by accidental sampling. Data on measures of Thai tourist satisfaction were collected by using the questionnaire analyzed by the statistical computer program to find the percentage, arithmetic means, and standard deviation. For qualitative research, participant observation and in-depth interview technique was applied for SWOT analysis of Thai tourism visiting Phu Pha Phet cave, Satun province.

The study found: In terms of 7P’s marketing mix, Thai tourists satisfaction towards product, price, place and physical characterizes of the cave was at high levels. While satisfaction towards promotion, process and people was at moderate levels. 4) SWOT analysis of Thai tourism visiting Phu Pha Phet cave, were the national attraction, the insufficient used of marketing mix, and terrorists situation in southern of Thailand respectively. Recommendation from the study was marketing mix should be applied to increasing tourist satisfaction

Article Details

บท
บทความวิจัย