การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุของผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ใช้การประเมินมูลค่าโดยการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า (Contingent Valuation Method: CVM) เทคนิคคำถามปิดแบบสองชั้น (Double-bounded dichotomous choice) ในการประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่าย (willingness to pay) ของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ ผลการศึกษา พบว่า ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุเฉลี่ยเท่ากับ 26,878.79 บาท/คน/เดือน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายต่อธุรกิจกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย รายได้ ภาวะสุขภาพ ที่อยู่ในบั้นปลายชีวิต สวัสดิการสังคม และค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ
Abstract
The purpose of this study is to investigate the general information of the Nursing home in Chiang Mai, estimate willingness to pay of consumer for Nursing home and analyze the factors influencing the willingness to pay of the consumer for Nursing home. Using sample group 400 samples. The Contingent valuation method (CVM) and double-bounded dichotomous choice to estimating willingness to pay and analyze the factors influencing the willingness to pay of the consumer for Nursing home. The results of the study revealed that the consumer were willingness to pay an average of 26,878.79 Baht./person/month. The age of the consumer, education, business owners, university professor, income, health status, address of the end of life, welfare and expense of Nursing home were found to significantly influencing the willingness to pay.
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2559. จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ปี 59. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dop.go.th. (29 กันยายน 2560).
คมสัน สุริยะ. 2547. เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับบริการด้านสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. 2559. จำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php (5 กันยายน 2560).
ลภัส อัครพันธุ์. 2558. เจาะธุรกิจขานรับผู้สูงอายุ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.scbeic.com/th/detail/product/1675 (5 กันยายน 2560).
วราภรณ์ ปัญญาวดี. 2553. การประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ม.ป.พ.