การออกแบบการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อุบล ทองปัญญา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การออกแบบการเรียนการสอน, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้ ผู้เขียนได้สำรวจจากกลุ่มอาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 61 คน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าอาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 8 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่เคยใช้โปรแกรม/แอปพลิเคชัน PowerPoint มากที่สุด รองลงมา คือ Line และ Facebook Group ตามลำดับ ส่วนในด้านความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าอาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลัย มีความรู้เรื่องการออกแบบการสอนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีความรู้ด้านหลักการและทฤษฎีพื้นฐานสำหรับการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนน้อยที่สุด รองลงมา คือการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และกลยุทธ์การสอนในยุคดิจิทัล และยังพบอีกว่าผู้สอนมีความต้องการที่อยากพัฒนาคนเองให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสามารถนำไปออกแบบสื่อการเรียนการสอน และสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยให้น่าสนใจ ใช้งานได้จริง สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียนได้มีความสุข สนุกในการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นต่อไป

References

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. [ม.ป.ป.]. เอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาการออกแบบการเรียนการสอนขั้นนำ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรี เกษพิชัยณรงค์ และ น้าค้าง ศรีวัฒนาโรทัย. (2559). การเรียนเชิงรุกและเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเชิงรุก. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก http://qa.bu.ac.th
นูรีดา เจ๊ะโซ๊ะ. (2560). การพัฒนาความเข้าใจแนวคิด เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อารี อิ่มสมบัติ. (2561). การส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน: การวิจัยพหุวิธีเพื่อพัฒนานโยบาย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัญญาณี สุมน และอุทิศ บำรุงชีพ. (2561). วิถีแห่งการคิดทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับการศึกษาไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จากเว็บ http://digital_collect.lib.buu.ac.th/journal/edusoc/13n2/edusoc13n2p.14-29.pdf
www.toptools4learning.com
www.certifyem.com/instructions
https://quizizz.com
https://padlet.com
https://www.pinterest.com
https://zap.works
https://coggle.it
https://www.edmodo.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28

How to Cite

สุวัตถิพงศ์ ช., & ทองปัญญา อ. . (2020). การออกแบบการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(18), 23–33. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/224124