การพัฒนาไมโครเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
ไมโครเลิร์นนิง , ความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของไมโครเลิร์นนิง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนด้วยไมโครเลิร์นนิง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านโป่งปะ จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ไมโครเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่า 1) ไมโครเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = 0.46) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.67/82.10 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนมีความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยไมโครเลิร์นนิง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.72, SD = 0.45)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม 1: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ. คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา นาคสกุล. (2555). ภาษาไทย ภาษาธรรม. สมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย.
กันทริน รักษ์สาคร, และคณะ. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการใช้คำยืมจากภาษาอังกฤษในบริบทไทยและแนวทางการแก้ปัญหา: กรณีศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ธารีย์ณิชา ลีพีรวิทิตกว้าน, สีตะธนี, และวิเชียร ชุติมาสกุล. (2560). การเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ของเจนเนอเรชันแซดผ่านการเรียนรู้แบบไมโคร. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13. (น. 57). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบจุลภาค. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาไมโครเลิร์นนิง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 51-62.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2556). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สัมปชัญญะ.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิสิฐ ตั้งสถิตกุล. (2563). แนวคิดไมโครเลิร์นนิง (Microlearning) กับการเล่าเรื่องข้ามสื่อในยุคดิจิทัล (Cross Media) สำหรับการจัดการเรียนการสอนและผลิตสื่อการสอนในรูปแบบออนไลน์. วารสารพัฒนาข้าราชการ กทม., 5(1), 10-15.
ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบ e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สรลักษณ์ ลีลา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติสารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019. (น. 1-11). สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Aitchanov, S. (2013). Training magazine: Bite-size is the right size - How to maximize performance in a society with short attention spans. https://trainingmag.com/content/bite-size-right-size
Bridge Learning Solutions. (2016, April 26). Micro-Learning การเรียนรู้แบบทีละเล็กทีละน้อย. https://www.bridgelearningsolutions.com/16881072/micro-Learning
Davis, Y. (2021). Bite-sized learning vs. microlearning: Are they one and the same. https://elearningindustry.com/bite-sized-learning-vs-micro-learning-are-same
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In M. Fishbeic (Ed.), Reading in attitude theory and measurement. Wiley & Son.
Nikou, S. A. (2018). Mobile-based micro-learning and assessment: Impact on learning performance and motivation of high school students. Journal of Computer Assisted Learning, 34(3), 269-278. https://doi.org/10.1111/jcal.12240
Simons, L. P. A., Foerster, F., Bruck, P. A., Motiwalla, L., & Jonker, C. M. (2015). Microlearning mApp raises health competence: Hybrid service design. Health and Technology, 5(1), 35-43. https://doi.org/10.1007/s12553-015-0095-1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. ทรรศนะและข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏอยู่ในวารสาร ECT Education and Communication Technology Journal เป็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
2. กองบรรณาธิการของสงวนลิขสิทธิ์ในการบรรณาธิการข้อเขียนทุกชิ้น เพื่อความเหมาะสมในการจัดพิมพ์เผยแพร่