ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน บนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย สิงหะเสนา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์, แพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์, สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานบนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานบนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบวัดสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการสืบสอบด้วยรูปแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานบนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินร่องรอยการเรียนรู้จากชิ้นงาน โดยเปรียบเทียบระดับสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์ (n = 25) และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน (n = 25) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานบนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม (Concrete experience) 2) ขั้นศึกษาสถานการณ์ (Simulation briefting) 3) ขั้นสะท้อนคิดจากสถานการณ์ (Reflective observation & thinking) 4) ขั้นออกแบบแนวคิด (Conceptualization) 5) ขั้นสำรวจตรวจสอบ (Experimenting) และ 6) ขั้นสรุปและขยายความรู้ (Elaboration) โดยจัดการเรียนรู้จำนวน 18 คาบ โดยใช้ระยะเวลา 9 สัปดาห์ และ 2) ผลการใช้รูปแบบพบว่ากลุ่มทดลองมีระดับสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติด้วยสถิติ T-test for independent samples และกลุ่มทดลองมีระดับสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนที่สูงขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเปรียบเทียบระดับสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติ T-test for dependent samples

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2563). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. https://www.thaiedreform.org/wp-content/uploads/2020/01/CommissionReport14.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

Alshutwi, S., Alsharif, F., Shibily, F., Wedad M, A., Almotairy, M. M., & Algabbashi, M. (2022). Maintaining clinical training continuity during COVID-19 pandemic: Nursing students' perceptions about simulation-based learning. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(4), 2180. https://doi.org/10.3390/ijerph19042180

Chou, R. J., Liang, C. P., Huang, L. Y., & She, H. C. (2022). The Impacts of Online Skeuomorphic Physics Inquiry–Based Learning With and Without Simulation on 8th Graders’ Scientific Inquiry Performance. Journal of Science Education and Technology, 31(3), 357-371. https://doi.org/10.1007/s10956-022-09960-5

Henri, M., Johnson, M. D., & Nepal, B. (2017). A review of competency-based learning: Tools, assessments, and recommendations. Journal of Engineering Education, 106(4), 607-638. https://doi.org/10.1002/jee.20180

OECD. (2019a). PISA 2018 results (Volume I). https://www.oecd.org/economic-outlook/november-2019/

OECD. (2019b). PISA 2018 science framework. https://www.oecd.org/economic-outlook/november-2019/

Usman, M., & Huda, K. (2021). Virtual lab as distance learning media to enhance student's science process skill during the COVID-19 pandemic. In The 1st South East Asia Science, Technology, Engineering and Mathematics International Conference (SEA- STEM IC). (pp. 20-22). Indonesia. https://doi.org/10.1088/1742-6596/1882/1/012126

Yiasemides, K., Zachariadou, K., Moshonas, N., Rangoussi, M., & Charitopoulos, A. (2022). Development and assessment of a web-based platform for an active learning physics lab session on the linear regression technique. In IEEE Global Engineering Education Conference, EDUCON. (pp. 946-955). Tunisia. https://doi.org/10.1109/EDUCON52537.2022.9766479

Yuliati, L., Riantoni, C., & Mufti, N. (2018). Problem solving skills on direct current electricity through inquiry-based learning with PhET simulations. International Journal of Instruction, 11(4), 123-138. http://www.e-iji.net

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-08

How to Cite

สิงหะเสนา ส., & คล้ายสังข์ จ. (2024). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน บนแพลตฟอร์มแบบร่วมมือออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 19(26), 1–17. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/267972