การพัฒนาเว็บการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของนักเรียนเตรียมทหาร

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ อินทสร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เว็บการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐาน , ห้องปฏิบัติการเสมือนจริง , ทักษะการใช้ดิจิทัล , ความมั่นคงปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของนักเรียนเตรียมทหาร และ 2) เปรียบเทียบทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของนักเรียนเตรียมทหารก่อนและหลังเรียนผ่านเว็บการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของเว็บการเรียนรู้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนและด้านการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนเตรียมทหารซึ่งเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินเว็บการเรียนรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้เว็บการเรียนรู้ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของนักเรียนเตรียมทหารที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1.1) หน้าแรก (Home) (1.2) ข้อมูลเกี่ยวกับเรา (About Us) (1.3) บทเรียนการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้วยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริง (Course) (1.4) บทความ (Blog) (1.5) การประเมินผล (Evaluation) และ (1.6) การลงทะเบียน และ 2) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บการเรียนรู้ปัญหาฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลิน คำแน่น. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(4), 156-164.

สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, วิบูลย์ ผกามาศ์, ปรางทิพย์ เสยกระโทก, ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ์. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์วิชาการบัญชีเบื้องต้นโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันร่วมกับการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา สำหรับผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา. คุรุสภาวิทยาจารย์, 3(2), 79-93. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/246900

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Lapkhuntod, K., Kaewkuekool, S., & Peasura, P. (2021). The learning management with problem based learning together web based instruction on aluminum welding for production technology education students. Journal of Industrial Education, 20(2), 1-11. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/244117

Law, N., Woo, D., & Wong, G. (2018). A global framework of reference on digital literacy skills for indicator 4.4.2. UNESCO Institute for Statistics.

Muhamad, M., Zaman, H. B., & Ahmad, A. (2012). Virtual biology laboratory (VLab-Bio): Scenario-based learning approach. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 69, 162-168. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2012.11.395

Perdana, R., Jumadi, J., Rosana, D., & Riwayani, R. (2020). The online laboratory simulation with concept mapping and problem based learning (Ols-Cmpbl): Is it effective in improving students' digital literacy skills?. Journal Cakrawala Pendidikan, 39, 382-394. https://doi.org/10.21831/cp.v39i2.31491

Rosenberg, M. (2001). E-learning: Strategies for delivering knowledge in the digital age. McGraw-Hill.

Suhirman, S., Prayogi, S., & Asy'ari, M. (2021). Problem-based learning with character-emphasis and naturalist intelligence: Examining students critical thinking and curiosity. International Journal of Instruction, 14, 217-232. https://doi.org/10.29333/iji.2021.14213a

Thorndike, E. L. (1927). The law of effect. The American Journal of Psychology, 39, 212-222. https://doi.org/10.2307/1415413

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-18

How to Cite

อินทสร ส. ., & ตันตระรุ่งโรจน์ พ. . (2024). การพัฒนาเว็บการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของนักเรียนเตรียมทหาร. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 19(27), 62–77. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/270743