แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนัท สมณคุปต์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์มดิจิทัล, สื่อดิจิทัล, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี  2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 46 คน ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 11 คน และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 5 คน ผู้ใช้บริการวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 20 คน นักวิชาการเกษตร จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอรมดิจิทัล จำนวน 5 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการของผู้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า

1. ความต้องการของผู้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบล ไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม มีความตองการอยูในระดับมากที่สุด โดยมีความ ตองการ ดังนี้ 1) ด้านสื่อและระบบสนับสนุนบนแพลตฟอรมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อยูในระดับมากที่สุด (M = 4.57, SD = 0.51) โดยมีความต้องการการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ มีแหล่งข้อมูล ความรู้ และแนวทางการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจสำหรับวิสาหกิจชุมชน มีการเชื่อมต่อเครือข่าย และมีการนำเสนอสื่อดิจิทัลในรูปแบบที่หลากหลาย และ 2) ด้านกาiใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อยูjในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = 0.51) โดยมีความต้องการการใช้งานในระดับที่ง่าย ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้งานและเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลได้ มีความสะดวกในการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล มีความสะดวกในการเข้าถึงสื่อดิจิทัลบนแพลตฟอร์มดิจิทัล และมีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล

2. แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ควรมี 5 ลักษณะดังนี้ 1) สนับสนุนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการของวิสาหกิจชุมชน 2) การเรียนรู้และพัฒนาทักษะ โดยรวบรวมแหล่งข้อมูล ความรู้ และแนวทางการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพสำหรับวิสาหกิจชุมชน 3) การเชื่อมต่อเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนในทุกส่วนที่มีความเกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ลูกค้า พันธมิตร นักลงทุน และหน่วยงานภาครัฐ  4) การนำเสนอสื่อดิจิทัลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และอินโฟกราฟิก และ 5) การผสานรวมกับสื่อสังคมออนไลน์ และองค์ประกอบของแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักดังนี้ (1) การจัดการเนื้อหา (2) สื่อดิจิทัล (3) ระบบอีคอมเมิร์ซ (4) การสื่อสารออนไลน์ และ (5) การแบ่งปันข้อมูลและความรู้

References

ปัณฑ์ชณิช เพ่งผล, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(2), 25-41. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/248248

ปริศนา มั่นเภา, และฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับธุรกิจบริการในยุคโควิด-19. วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 57-65. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/143

พิรงรอง รามสูต. (2565). แพลตฟอร์มดิจิทัล. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 1(2), 1-36. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tmfjournal/article/view/259353/176231

ลั่นทม จอนจวบทรง, และณธภร ธรรมบุญวริศ. (2562). การแปลงรูปสู่ธุรกิจดิจิทัลก่อนถูกยุบสลาย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 216-231. https://so01.tcithaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/204654

วิไลวรรณ สิริโรจนพุฒิ, กนกกาญจน์ ศศิวิมลฤทธิ์, และณัฐปคัลภ์ ธนาวิวัฒน์. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการขยายการลงทุนโรงสีข้าวกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 5(1), 39-49. https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/1623/587

สถิรา มะลาสิน, ทัศน์ชัย พัฒนโกศัย, และชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร. (2565). แนวทางการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1545-1559. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/248595

Chen, X., Chua, A. Y. K., & Deng, S. (2018). Comparing the Web and Mobile platforms of a social Q&A service from the user's perspective. Aslib Journal of Information Management, 70(2), 176-191. https://doi.org/10.1108/AJIM-06-2017-0149

Xiao, S., Chen, Y.-J., & Tang, C. S. (2020). Knowledge sharing and learning among smallholders in developing economies: Implications, incentives, and reward mechanisms. Operations Research, 68(2), 435-452. https://doi.org/10.1287/OPRE.2019.1869.07/s10956-019-09782-y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22

How to Cite

สมณคุปต์ ธ. (2024). แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 19(27), 142–158. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/274861