Publication Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
        1. บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
          1.1. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทความทุกฉบับที่ส่งมาเพื่อขอตีพิมพ์ ว่ามีการส่งบทความเป็นไปตามกระบวนการตามขั้นตอนที่วารสารได้กำหนดไว้
          1.2 บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองบทความทุกฉบับให้เรียบร้อยเหมาะสมตามรูปแบบองค์ประกอบหรือเป็นไปตามสาขาวิชาของวารสารที่กำหนดไว้
          1.3 บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองทุกบทความที่ส่งมาเพื่อขอตีพิมพ์ ว่าต้องไม่เคยหรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดๆ มาก่อน
          1.4 หากบรรณาธิการตรวจและกลั่นกรองพบว่าบทความนั้น ๆ เคยหรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใด ๆ มาก่อนแล้ว บรรณาธิการจะติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจงว่าใช่หรือไม่อย่างไร ถ้าพบว่าใช่บรรณาธิการจะขอยุติกระบวนการแล้วแจ้งผลการปฏิเสธนำส่งกลับไปยังผู้นิพนธ์ทันที
          1.5 บรรณาธิการมีหน้าที่กลั่นกรองคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความนั้นๆ ให้ตรงตามคุณสมบัติหรือตามความเชี่ยวชาญของศาสตร์สาขาวิชานั้นเฉพาะ
          1.6 บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ ในบทความนั้นๆ
          1.7 บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความ
          1.8 เมื่อได้รับผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความนั้น ๆ แล้ว บรรณาธิการจะทำการตรวจสอบผลและส่งกลับไปยังผู้นิพนธ์เพื่อทำการแก้ไข (หากได้แก้ไข) แล้วส่งกลับมาตามระบบเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่อไป
 
         2. บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Duties of Reviewers)
          2.1 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องพิจารณาบทความที่ปราศจากอคติส่วนตัว โดยจะต้องมีทัศนคติ แนวความคิด มุมมองที่เป็นกลางหรือต้องพิจารณาตามหลักทางวิชาการที่เป็นเหตุและผล
          2.2 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและมีความรู้ ความเข้าใจ หรือความเชี่ยวชาญในการพิจารณาบทความเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี
          2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงความสำคัญเกี่ยวกับเวลาหรือกรอบระยะเวลาในการประเมินบทความโดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมไม่ควรใช้เวลานานจนเกินไป
          2.4 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เรียกรับผลประโยชน์จากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือในกรณีใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของวารสารที่กำหนดไว้
          2.5 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการพิจารณาบทความให้บุคคลอื่นได้รับรู้
          2.6 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ โดยจะต้องไม่คัดลอกผลงานหรือนำเอาผลงานไปดัดแปลงเป็นผลงานของตนเอง
          2.7 หากผู้ทรงคุณวุฒิไม่สามารถพิจารณาหรือประเมินบทความนั้น ๆ ได้ ให้รีบติดต่อบรรณาธิการเพื่อขอส่งบทความกลับคืน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นนั้นๆ
 
         3. บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
          3.1 ผู้นิพนธ์ต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ และอื่น ๆ ของวารสารให้เข้าใจอย่างถูกต้องและท่องแท้
          3.2 ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของบทความตนเองให้ดีก่อน ว่าได้เขียนบทความเป็นไปตามรูปแบบและองค์ประกอบที่วารสารกำหนดไว้หรือไม่
          3.3 ผู้นิพนธ์ต้องส่งบทความผ่านหรือเข้าระบบแบบออนไลน์เท่านั้น
          3.4 ผู้นิพนธ์ต้องมีจริยธรรม ในตนเอง โดยจะต้องไม่แอบอ้างนำเอาบทความหรือผลงานของบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับการอนุญาต มาส่งเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่
          3.5 ผู้นิพนธ์ต้องมีจรรยาบรรณในตนเอง โดยจะต้องไม่นำบทความหรือผลงานของตนที่เคยตีพิมพ์มาแล้วจากแหล่งอื่น มาส่งเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำซ้อนอีก
          3.6 ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ระเบียบ ข้อบังคับที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด
          3.7 หากผู้นิพนธ์ได้รับทราบผลหรือรับรู้ถึงผลการประเมินแล้ว ถ้าผ่านการพิจารณาโดยมีเงื่อนไขให้แก้ไขบทความ ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร็วและต้องแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างครบถ้วน