อัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ดวงกลองยาวประยุกต์ในจังหวัดมหาสารคาม Identity of Keyboard Improvisation In klongYow,Mahasarakham Province

Authors

  • มนตรี เนมิน
  • ธนภร เพ่งศรี
  • ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี
  • พิทยวัฒน์ พันธะศรี

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการแสดงกลองยาวในอำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคามได้มีการประยุกต์การบรรเลงโดย นำเอาคีย์บอร์ด
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสากลมาใช้บรรเลงนำทำนองเพลงดังในอดีตและปัจจุบัน ทำให้กลองยาว เกิดความแปลกใหม่ทันยุคสมัยตามความนิยมในยุคปัจจุบัน การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างการบรรเลงทำนองคีย์บอร์ด 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นงานวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยาโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในการประกวดงานออนซอนกลองยาวชาววาปีของดีพื้นบ้านในปี พ.ศ. 2556 คือวงกลองยาวประยุกต์คณะเทพนิมิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารบันทึกข้อมูลภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติคีย์บอร์ดแบบเชิงลึกใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะเวลาในการวิจัยจากเดือนพฤษภาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 นำข้อมูลที่ได้มาศึกษาการบรรเลงคีย์บอร์ดในแนวทางดนตรีสากลได้ผลการศึกษาดังนี้ 1) การศึกษาโครงสร้างการบรรเลงทำนองคีย์บอร์ดในวงกลองยาวประยุกต์คณะเทพนิมิต พบว่า การบรรเลงทำนองคีย์บอร์ดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญคือ ส่วนที่1 รูปแบบเพลง ประกอบไปด้วยท่อนเพลงประยุกต์ ท่อนลายพื้นบ้าน ท่อนเชื่อมประโยคเพลง และท่อนจบประโยคเพลง ส่วนที่ 2 ทำนอง การบรรเลงทำนองคีย์บอร์ดมี 2 ทำนองหลัก คือ ทำนองลายพื้นบ้าน และทำนองเพลงประยุกต์ ส่วนที่ 3 จังหวะจังหวะกลองยาวที่ใช้มีลักษณะเป็นแพทเทรินเดียว ใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ 4/4 ความเร็วของจังหวะคือ 136 โน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ 136 ลักษณะจังหวะมีเครื่องตีประกอบจังหวะคือ รำมะนา กลองยาว และ ฉาบ 2) อัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ดในวงกลองยาวประยุกต์คณะเทพนิมิตพบว่า รูปแบบที่1 อัตลักษณ์ด้านการบรรเลงทำนอง คือ การด้นทำนองลายพื้นบ้าน เป็นการใช้ลายลำเพลินเป็นทำนองหลัก ประยุกต์โดย ประดับตกแต่งทำนองด้วยการด้นทำนองลายพื้นบ้านต่างๆในรูปแบบเพนทาโทนิคไมเนอร์สเกล ผสมผสานเป็นทำนองลายพื้นบ้านในรูปแบบอัตลักษณ์เฉาะตัวของผู้บรรเลงมีการใช้โน้ตตัวที่ 5 ของคอร์ดหลักมาใช้ประสานเสียงในแนวทำนอง การด้นทำนองเพลง เป็นการนำทำนองที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่จดจำของเพลงดังในอดีตและปัจจุบันมาประยุกต์บรรเลงเข้ากับจังหวะกลองยาว รูปแบบที่ 2 อัตลักษณ์ด้านวิธีการ
บรรเลงคีย์บอร์ด พบการรูดลิ้มนิ้วคีย์บอร์ดใช้ในการส่งสัญญาณเปลี่ยนทำนองเพลงหรือเปลี่ยนจังหวะอัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ดวงกลองยาวประยุกต์ในจังหวัดมหาสารคาม มีการประยุกต์การบรรเลงให้มีความเป็นสากลมากขึ้นเป็นการผสมผสานการบรรเลงระหว่างดนตรีพื้นบ้านเข้ากับดนตรีสากลทำให้เกิดเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบันและยังสามารถ
อนุรักษ์การละเล่นกลองยาวในจังหวัดมหาสารคาม ไว้ได้ต่อไป คำสำคัญ : อัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ด, วงกลองยาวประยุกต์ในจังหวัดมหาสารคาม

Abstract

Klongyoaw show in WapiPathumMahasarakham province. Has applied to play the keyboard, which is a universal instrument. Used to play melodies popular song in modern times.This study.Objective 1) to study Analysis the structure of Keyboard improvisation melody. 2) To study the identity of keyboard improvisation. Which is research Anthropology by choosing a target audience. The Royal Trophy From Her Royal Highness Princess MahaChakriSirindhorn. In the Onsoklongyoaw contest, In the year 2556 is a Klongyoaw TEPNIMIT band. By collecting information from documents, field notes, in-depth keyboard interviews. Use qualitative research. Research Period from May 2016 to March 2017. In the universal musical approach, the results of the study are as follows. 1) To study Analysis the structure of Keyboard improvisation melody. The keyboard is divided into three parts; part 1 is the popular songs, Folk Music songs, Transition and Ending. Part 2 melody, keyboard melody has two main melody is the folk melody and the melody is popular songs. Part 3 rhythm of the
Klongyoaw beat, is used as 1 pattern. The rhythm Time signature is 4/4. The tempo of the rhythm is 136. The Quarter Note is to 136. The rhythmic beat is Ramana, Klongyoaw, and clymbal. 2) Identity of keyboard improvisation, part 1 Identity improvisation of melodies. It is used main melody by Folk melodies. playing of Pentatonic Minor Scale. Improvisation of folk melodies cover of identity of the player. The 5th note of the main chord is used Harmony in the melody. Melody of popular song is Cover melodies Hit and the best melodies apply playing in klongyoaw rhythmic. Part 2 Identity improvisation playing of keyboard is Glissando in keyboard playing Make a promise, change the melodies and change Rhythmic pattern. The Identity of Keyboard improvisation in KlongYoaw in Mahasarakham Province. Modified by the era, there is more universal. Keyboards can be played with the band. KlongYoaw fit perfectly. Is innovative In the application of interplay between Folk music with universal music It is popular and can also be preserved In the continue of MahaSarakham province. Keyword : Identity of Keyboard improvisation, Klongyoaw Mahasarakham Province.

Downloads

Published

2017-10-12

How to Cite

เนมิน ม., เพ่งศรี ธ., วรมิตรไมตรี ณ., & พันธะศรี พ. (2017). อัตลักษณ์การบรรเลงคีย์บอร์ดวงกลองยาวประยุกต์ในจังหวัดมหาสารคาม Identity of Keyboard Improvisation In klongYow,Mahasarakham Province. Chophayom Journal, 28(2), 87–95. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101358

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์