รูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม The Management Development Model of Community Financial Institutions in Nakhon Phanom Province

Authors

  • สำราญ วิเศษ
  • ภักดี โพธิ์สิงห์
  • สัญญา เคณาภูมิ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพเกี่ยวกับการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม
2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือคณะกรรมการ และสมาชิกของสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 350 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยวิธี Stepwise ระยะที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม กลุ่มเป้าหมาย คือผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดประชุมกลุ่มย่อย และระยะที่ 3 เพื่อยืนยันรูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ ตัวแทนสถาบันการเงินชุมชน ตัวแทนธนาคาร และตัวแทนพัฒนาชุมชน ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการของสถาบนั การเงิน ชุมชนในจังหวัดนครพนม โดยรวมและรายด้านมีการบริหารจัดการอย่ใูนระดับสูง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม คือปัจจัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกปัจจัยการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และปัจจัยประสิทธิภาพของคณะกรรมการ สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งสามร่วมกันพยากรณ์การบริหารจัดการของสถาบันการ
เงินชุมชนในจังหวัดนครพนมได้ร้อยละ 15.4 3. ผลการสร้างรูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม มี 5 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของคณะกรรมการมีองค์ประกอบของการบริหารจัดการ (2) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก (3) ปัจจัยด้านการเรียนรู้องค์กร (4) ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก และ (5) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการเงินโดยยึดวัตถุประสงค์ คำสำคัญ: รูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการ, สถาบันการเงินชุมชน

ABSTRACT

This research aimed to 1) study the circumstances on the management of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province 2) to examine the factors influence on the management of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province and 3) to set up the model of the management development of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province. The research conduct was divided into 3 phrases: the first was to study the factors impacting the management of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province. The sample consisted of 350 people committees and members of the community financial institutions. A questionnaire was used to collect the data and the collected data were analyzed by the computer program. Statistics used in the conduct of the research were percent, mean, and standard deviation. Multiple regression analysis was used by Stepwise. The second was to create the model of management development of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province. The 20 people of the target group consisted of experts, academics and people who have knowledge and experience in the management development of the community financial institutions, were participating in the depth interview and focus group discussion. The third was to confirm the developed model by 5 people: expert, academic, community financial institution representative, bank representative, and community development representative. The results of the research were revealed as follows: 1) The management of the community financial institutions in overall and in each aspect Nakhon Phanom Province was at a high level. 2) The factors affecting the management of the community financial Institutions in Nakhon Phanom Province were Members’ Participation, Result-based Management and Committees’ Efficiency which were able to forecast the management of the community financial institutions the .05 level of significance and had a predictive power of 15.4 percent. 3) The developed model of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province had 5 factors (1) the factor of Committees’ Efficiency (2) The factor of the Members’ Participation (3) The factor of Acquiring Organizations (4) The factor of Reinforcement from the Outside Organizations and (5) The factor of the Financial Management based on the Aims. The experts, academics and the involved persons of the community financial institutions in Nakhon Phanom Province. Keywords: The Management Development Model, Community Financial Institutions

Downloads

Published

2017-10-12

How to Cite

วิเศษ ส., โพธิ์สิงห์ ภ., & เคณาภูมิ ส. (2017). รูปแบบพัฒนาการบริหารจัดการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม The Management Development Model of Community Financial Institutions in Nakhon Phanom Province. Chophayom Journal, 28(2), 108–117. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101360

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์