การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 Adaptation of Local Government in Thailand 4.0

Authors

  • เสกสรรค์ สนวา
  • สุพัฒนา ศรีบุตรดี
  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี

Abstract

บทคัดย่อ

การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้หลักการไทยแลนด์ 4.0 ถือเป็นความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น เพราะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับตัว 5 ด้าน ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับวัฒนธรรมองค์การใหม่ (Cultural Change) 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับระบบการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ (Personal Administration) ด้วยการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากรมีศักยภาพที่สูงขึ้น 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเน้นการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม (Participations) โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงาน รวมถึงการตรวจสอบการดำเนินโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีผู้บริหารแนวใหม่ เช่น เป็นผู้ซึ่งมีจิตอาสา เป็นผู้กล้าคิด เป็นผู้กล้าทำการเปลี่ยนแปลง และ 5) การส่งเสริมและปรับบทบาทท้องถิ่นให้สามารถจัดการตนเองได้ (Self - Management) โดยต้องประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเครือข่ายทางสังคม การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจมีความแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทท้องถิ่น จำนวนประชากร ลักษณะของสภาพทางสังคม และ
วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละแห่ง ทำให้การบริหารงานท้องถิ่นนั้นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างกันไป สำหรับรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ โดยสามารถจำแนกออกเป็นรูปแบบทั่วไป 3 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และรูปแบบพิเศษ 2 รูปแบบ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม เนื้อหาของบทความจึงครอบคลุม 5 ประเด็น ได้แก่ ความหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักการไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 และทิศทางขององค์การบริหารส่วนตำบลในอนาคต คำสำคัญ : การปรับตัว, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ไทยแลนด์ 4.0

Abstract

The adaptation of local government is a dressed under the principle of Thailand 4.0 to confrent new challenges on the honzon therefore governments must have adaptes 5 areas: (1) Cultural Change: Local governments must adopt a new culture. (2) Personal administration: Local governments must adjust to new personnel management those concertinas as promotion of support personnel or potential hires. (3) Participations:
Local governments need to focus on the development of local participation. Such as providing The opportunity for local people to take part in the planning, implementation and monitoring of projects for local governments (4) Local governments will have on administrative line, such as those are spiritual. Undertaking aloadrote with courage to change and (5) Self – Management: To promote and adapt local roles for self-management.
This depends on the local context of the social characteristics of the population. And each culture has its own local administration. The local government in Thailand is divided into five types, which can be classifies into three general types: Provincial Administration organization and two special formats of administration such as Bangkok and Pattaya. The purpose of this article is to present the organization as a wholes. so the content of the article is covers five issues: the purpose of the local administrative organization. The importance of Local  government principles in Thailand. for local government organizations, and the adoption of the localized government of pooches in Thailand 4.0, and direction of the sub-district administration organization in the future Keywords: Adaptation, Local Government, Thailand 4.0.

Downloads

Published

2017-10-12

How to Cite

สนวา เ., ศรีบุตรดี ส., & สุธรรมดี ฉ. (2017). การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0 Adaptation of Local Government in Thailand 4.0. Chophayom Journal, 28(2), 118–127. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101362

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์