การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • ชาคร คัยนันทน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม เพื่อศึกษากระบวนการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ในการวิจัย ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นองค์กรที่หลากหลาย มีกิจกรรมอยู่ในระหว่างการพัฒนาและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ดังนั้นเป้าหมายผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ในช่วงที่ทำการวิจัยรวมทั้งสิ้น 52 คน ผลการวิจัยพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งมีสภาพการบริหารจัดการที่มีความพร้อมในด้านบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ แต่ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดี หลังจากใช้การจัดการความรู้โดยแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเก็บและนำความรู้ไปใช้ ก่อให้เกิดคณะทำงานจัดการความรู้หลากหลายมากขึ้น ทุกสัปดาห์ในวันศุกร์ เวลา 15.00 น. มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เกิดประสบการณ์ในการจัดความรู้ บุคลากรมีวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับองค์กรอื่นๆ จากการจัดการความรู้ ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งเกิดการพัฒนางาน คน และองค์กรอย่างมีประสิทธิผล และมีแนวโน้มที่จะพัฒนา
สู่การเป็นองค์กรแหล่งการเรียนเร็วมากขึ้น และบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในด้านการสร้างความรู้ การจำแนกความรู้ การจัดเก็บความรู้ การนำความรู้ไปใช้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการประเมินผลความรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ABSTRACT

This research aimed at investingating knowledge management, theprocess of knowledge management, and the ways of knowledge management for developing KerngSubdistrict Administration Organization, Muang District, MahaSarakham Province. This organization and government officials concerned was selected as a target area and a target group because it was an organization where had a wide variety of activities in the process of development and the organization had been developed itself continuously so a sample of 52 people were government officials working in the target area during the research operation. The research result revealed that KerngAdministrartion Organization had its administrative readiness
in terms of personnel, materials, equipment, and budget but lacked the exchange on good governance. After knowledge management was conducted through knowledge sharing and exchange, knowledge storage, and knowledge application and use, a wide variety of knowledge management teams appeared. An internal exchange on knowledge management was held at 3.00pm. every Friday. Thus this organization had its systematic knowledge management, experience on knowledge management. And personnel had their culture of knowledge management exchange, and it became a learning source for other organizations. The result of knowledge management operation efficiently affected the development of its affairs, personnel, and organizational growth, including it also tended to be developed into a learning organization. Personel of KerngSubdistrict Administration Organization had their total knowledge management for developing their organization in terms of knowledge creation, knowledge classification, knowledge storage, knowledge application and use,knowledge sharing, and knowledge assessment at a high level

Downloads

Published

2017-10-12

How to Cite

คัยนันทน์ ช. (2017). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. Chophayom Journal, 28(2), 128–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101363

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์