ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 Factors Affecting the Effectiveness of Teacher Professional Development in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 30
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูและระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
ประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างและขนาดของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นครู จำนวน 760 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก และระดับอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพ ครู อยู่ในระดับมากทั้งสามปัจจัย เรียงลำดับดังนี้ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ศักยภาพแห่งตน และทักษะการสอน 2) โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ดังนี้ χ2= 68.651, df = 51, χ2/df = 1.346, CFI= .997, TLI = .995, RMSEA = .022, SRMR = .018 โดยพบว่าศักยภาพแห่งตน (self-efficacy) มีอิทธิพลสูงสุดต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู เท่ากับ 0.73 รองลงมา คือ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 0.32 และทักษะการสอน เท่ากับ 0.23 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 คำสำคัญ: ประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู, ศักยภาพแห่งตน, การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง, ทักษะการสอน.
ABSTRACT
The objectives of this research aimed to 1) explore the level of the effectiveness of teacher professional development and factors affecting the effectiveness of teacher professional development in schools under the office of secondary educational service area 30 2) investigate the congruence of structure equation model and examine direct, indirect, and total effect of the effectiveness of teacher professional development. Research sample were 760 teachers using the stratified random sampling. Research instrument was 5 rating scale questionnaires with reliability of 0.95. Data were analyzed in the forms of descriptive statistics and inferential statistics. The results were as follows; 1) The overall effectiveness of teacher professional development in schools was in high level. Considering each aspect, ranking in order: authentic assessment, teaching in specific curriculum, job embedded
professional development, and student learning needs. The overall factors affecting the effectiveness of teacher professional development in schools were in high level. Considering each aspect, ranking in order: continuing professional development, self-efficacy, and teaching skills. 2) The structural equation model of the effectiveness of teacher professional development, developed by the researcher, was fit empirical data. There were standardized at χ2= 68.651, df = 51, χ2/df = 1.346, CFI= .997, TLI = .995, RMSEA = .022, SRMR = .018. There, in decreasing order of frequency, were significantly difference at .01 of all 3 factors; self-efficacy had highest total influence of 0.73, continuing professional development had total influence of 0.32, and teaching skills had total influence of 0.23. Keywords : effectiveness of teacher professional development; self-efficacy; continuing professional development; teaching skills.