ทุนทางสังคมของชาติพันธุ์ผู้ไทเพื่อการพัฒนา : กรณีศึกษาบ้านม่วงไข่ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ Social Capital of Phu - TaiEthnicity for Development : A Case of Ban Muang Khai, Khum Kao Sub-distric, Khao Wong District, Kalasin
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและทุนทางสังคมของชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านม่วงไข่ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้รูปแบบการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal: PRA) ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยนี้ คือ ชาวบ้านบ้านม่วงไข่ จำนวนทั้งหมด 263 คน จำนวน 96 ครัวเรือน และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครัวเรือนอาสาจำนวน 50 ครัวเรือน ได้จากความสมัครใจของชาวบ้านในการเข้าร่วมเป็นทีมวิจัยดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือน มีนาคม 2560 ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนของบ้านม่วงไข่ ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการตามยุคสมัยของสังคม ในรูปแบบความเจริญจากการพัฒนาต่างๆ ที่เข้ามาสู่ตัวชุมชน ส่วนด้านวิถีชีวิตชุมชนผู้ไทบ้านม่วงไข่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม อยู่อาศัยแบบเรียบง่าย สามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยการดำเนินชีวิต โดยพึ่งพาทรัพยากร ธรรมชาติ บนฐานการพึ่งตนเองเป็นหลัก มีฐานวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อของชุมชนรวมถึงอาศัยระบบความ
สัมพันธ์ที่เหนี่ยวแน่นเป็นเครื่องมือในการจัดการชุมชน จึงทำให้ชุมชนผู้ไทบ้านม่วงไข่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการอาศัยทุนเดิมที่ชุมชนมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น การช่วยเหลือเกื้อกูล ความไว้วางใจ แลกเปลี่ยนแบ่งปัน ตลอดจนความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆของชุมชน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทุนทางสังคมที่ชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการชุมชนรวมถึงเป็นตัวกำหนดแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของคนในชุมชนและพบว่าชุมชนบ้านม่วงไข่มีจุดเด่นทางด้านทุนทางสังคมที่โดดเด่นจากทุนทางสังคมใน 3 องค์ประกอบหลักคือ ด้านทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ด้านทุนวิถีชีวิตทางวัฒนธรรม และด้านความเอื้ออาทร ทุนเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ คำสำคัญ : ทุนทางสังคม, การพัฒนา
ABTRACT
The research’s purposes aimed to study the community context and social capital of phu-Tai ethnic, MuangKhai, Khum Kao sub – district, Khao Wong district,Kalasin province, by using qualitative methodology of qualitative research and Participatory Rural Appraisal (PRA) The population in data collection of this research was Ban MuangKhai villagers,total 263 people,96 families. And sample group used in this research was 50 voluntary families, get it from villagers’ voluntary in participation as research team. The results of research were found that the context of Ban MuangKhai community was found that community had a change of development according to period of society in a form of growth from different
developments came to thae community . But the part of Phu – tai Ban MuangKhai community’s way of life has still taken the way of life like the previous time, easy living capable to self-sufficient, know how to live by depending on natural resources on the base of main self-sufficient, had the foundation of culture, thought, belief of the community in clouding a system of strong relationship as a tool in community management, caused to make Phu – Tai Ban MuangKhai able to live happily, which display the original capital dependence that the community had ethnic support to each other, trust, charity or cooperation in community’s activities. These were the social capital that the community used it as the tool in community management and were the way redetermination in practice of people in the community had a dominant point in the part of dominant social capital from social capital in 3 main components as the part of natural resources, the part of cultural life capital and the part of sympathy. These capitals could bring to connect the research top to create the way of community development capable to self-sufficient. Keyword: Social Capital, Community