การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม A Study of Practical Strategies for the Best Practice of the Family Development Centers in Communities of Thakho Sub-District Adminis

Authors

  • หัสพระชัย ภูวงค์
  • สิทธิชัย ตันศรีสกุล

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีความมุ่งหมายการศึกษาเพื่อศึกษาระดับการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และศึกษาหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 โดยกำหนดตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร คือ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ และด้านการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. แนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วม และอยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสถานที่ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ 2. ปัจจัยที่มีส่งผลต่อแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้าง ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ และด้านงบประมาณ โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถสามารถอธิบายผลการผันแปรได้ร้อยละ 90.71(R2= 0.971, F = 2055.541) 3. แนวทาง/ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ดังนี้ ควรจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้ออย่างเพียงพอควรมีปรับปรุงศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้อให้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินงาน ควรจัดให้บุคลากรของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้อได้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้อควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้ออย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมให้สมาชิกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน/ประชาชน ตำบลท่าค้อได้เข้าร่วมการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลท่าค้ออย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ : แนวปฏิบัติที่ดี

ABSTRACT
The objectives of the research were to study the practical strategies for the best practice of the family development centers in communities of Thakho Sub-District Administrative Organization, Meaung District, Nakhon Panom Province, to analyze factors affecting job performance efficiency of the centers and to find useful suggestions for problem solutions and job performance improvement. The sample subjects were 371 of which were selected by multi-stage sampling. The data was collected by a five-point-rating scale questionnaire with .97 reliability index. The variables consisted of organizational structure, personnel, budget, workplace, equipment and public participation. The statistics used were mean and standard
deviation. Multiple Linear Regression Analysis was used for hypothesis testing at the 05 level of the statistical significance. Results of the research were as follows: 1. The research findings showed that the overall practical strategy for the best practice of the family development centers in communities of Thakho Sub-District Administrative Organization, Meaung District, Nakhon Panom Province was at a moderate level. One high-rated item of the best practice was public participation. Five moderate rated items of the best practice
were workplace, organizational structure, personnel, budget and equipment respectively. 2. The factors affecting the practical strategies for the best practice consisted of workplace, personnel, organizational structure, equipment and budget respectively. The variance index of the variables was 90.71% (R2= 0.971, F = 2055.541). 3. In conclusion, the study suggests that the budget should be provided sufficiently to the family development centers. The centers should be continuously developed for job performance efficiency. Study trip to the best practice projects should be organized for the personnel of the family development centers. The working staff and members of the centers should always be provided for the opportunity to participate in the management of the centers. Key word : Best Practice.

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

ภูวงค์ ห., & ตันศรีสกุล ส. (2018). การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม A Study of Practical Strategies for the Best Practice of the Family Development Centers in Communities of Thakho Sub-District Adminis. Chophayom Journal, 29(1), 185–198. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126456

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์