แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนาของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น The Promoting Approach of Using Sustainable Organic Fertilizer in Paddy Field: The Case of Khon Kaen Province Farmers
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อสร้างแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการ ทำนา ของเกษตรกร และ3) เพื่อทดลองใช้ และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ประชากร คือ เกษตรกรทำนา ในจังหวัดขอนแก่นที่เคยอบรม หรือเข้าสู่โครงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และเคยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาแล้ว กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 400 คน แบ่งเป็น กลุ่มยั่งยืน คือ กลุ่มที่เคยใช้และยังคงใช้ปุ๋ยอินทรีย์อยู่ จำนวน 200 คน และ กลุ่มไม่ยั่งยืน คือ กลุ่มที่เคยใช้และเลิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว จำนวน 200 คนใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติการวิเคราะห์จำแนกประเภท แบบเป็นขั้นตอน และ สหสัมพันธ์แคนโนนิคอล กำหนด ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 8 ปัจจัยสาเหตุ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างแนวทางการส่งเสริม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริม และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการ ทำนา ของเกษตรกร กลุ่มทดลอง คือ เกษตรกรทำนา ในหมู่บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 40 คน ใช้การเลือกแบบสมัครใจ ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซํ้ากำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการ ทำนา ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ประกอบด้วย 4 ตัวแปร โดยมีลำดับการเข้าสู่สมการ (พิจารณาจากค่า Wilk’s Lambda) คือ ทัศนคติต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (0.929) ความเชื่อมั่นในตนเอง (0.852) การรับรู้ข่าวสาร (0.827) และภาวะผู้นำ (0.814) 2. แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการ ทำนา ของเกษตรกร จาก 4 ตัวแปรสาเหตุเป็นชุดกิจกรรมฝึก จำนวน 11 กิจกรรม ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ตนเอง 2) การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ 3)โยนไข่ไม่ให้แตก 4) จุดเทียนสัญญาว่าจะเป็นคนดี 5) ปากข่าว 6) เทคนิคการสื่อสาร 7) ระบบสื่อสารและการรับรู้ข่าวสาร 8) ค้นหาผู้นำ 9) การเสริมสร้างภาวะผู้นำ 10) ความคาดหวังที่สังคมต้องการจากตัวเรา และ 11) ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ 3. หลังการทดลองใช้แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการ ทำนา ของเกษตรกร
เกษตรกร ในกลุ่มทดลอง มีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืนในการทำนา ของเกษตรกร ด้านทัศนคติต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้านภาวะผู้นำ เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : แนวทางการส่งเสริม การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างยั่งยืน
ABSTRACT
This research aimed to (1) study factors sustainable use of organic fertilizer in paddy field of Khon Kaen Province, farmer, (2) formulate the promoting approach to sustainable use of organic fertilizer in paddy field and (3) implement and evaluate the promoting approach to sustainable use of organic fertilizer in paddy field. The research procedure was divided into 3 stages. In the first stage, the researcher investigated factors which affected sustainable use of organic fertilizer in paddy field by formulating the promoting approach of sustainable use of organic fertilizer in paddy field as an outcome variable. Eight causal factors were used for the study. Four hundred of Khon Kaen Province, farmers were selected and participated in the study and the required data were collected by using the questionnaire, were used for analyzing of data. Discriminant Analysis (Stepwise Method) and Canonical Correlation Analysis at the .05 level of statistical significance. In the second stage, the researcher constructed the promoting approach of sustainable use of organic fertilizer in paddy field purposive sampling by using the study result from the first stage. Twenty involved persons were participated in the workshop to co-operatively criticized and evaluated the model of manure biological farming for sustainable. In the third stage, the researcher implemented the promoting. The promoting was evaluated by forty farmers in Ban Nonghoawoa Khoksee Sub - District Mueng Khon Kean District Khon Kean
Province and analyzed by MANOVA (Repeated Measure) at the .05 level of statistical significance. The major findings revealed the followings: 1. The developed causal factors showed harmony with the empirical data. Four causal factors with effects on sustainable use of organic fertilizer in paddy field of Khon Kaen Province, farmer were including 1) Attitudes (0.929) 2) Self Confidence (0.852) 3) Data (0.827) and 4) Leadership (0.814) both Wilk’s Lambda 2. The development promoting approach of sustainable use of organic fertilizer in paddy field consisted of 4 causal factors 11 activities : 1) Mine Analyze 2) Observe activities 3) Safe Egg 4) Candle 5) News of Mouth 6) News Technical 7) News system and Perception 8) Idol leadership 9) Making leadership 10) Hope and 11) leadership Knowledge. 3. The farmer in the model showed higher sustainable use of organic fertilizer in paddy field for sustainable. Development as a whole and in 2 aspects: service and support than
before implementation of model at the .05 level of statistical significance both MANOVA (Repeated Measure).
Keywords : promoting approach, organic fertilizer, Paddy field