รูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกของประเทศไทย A Model of Knowledge Management Development of School Administrators under Primary Educational Service Area Offices in the Eastern Region o
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา และ 3) เพื่อทดลองและประเมินผลรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกของประเทศไทย ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกของประเทศไทย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 319 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล เพื่ออธิบายอิทธิพลเส้นทาง กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 5 ปัจจัยสาเหตุ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารในระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 คน นักวิชาการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 5 คน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลมุ่ ยอ่ ย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแกไ้ ขแลว้ ใหผ้ เู้ ชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนา และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มทดลอง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 2 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 2 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 2 คน คัดเลือกโดยการสมัครใจยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัย ใช้การเลือกแบบสมัครใจ ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลอง ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test โดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย เทคโนโลยีในการจัดเก็บความรู้ (0.47) ความร่วมมือ (0.44) เทคโนโลยีสื่อสาร (0.36) และการติดตามความก้าวหน้า (0.22) 2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้จัดทำกิจกรรมการพัฒนา จำนวน 12 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร 3) ผังควบคุมกำกับงาน 4) การพัฒนาบุคคล และทีมงาน 5) คลังข้อมูล 6) Website ของโรงเรียน 7) Webpage ของครู 8) วาระประชุม 9) การประเมิน การติดตาม การนิเทศ 10) สัญญา 11) กลุ่ม Line และ 12) รายงานการเดินทาง
3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้ รูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการพัฒนาการจัดการความรู้ของผู้บริหารในสถานศึกษา ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนในทุกตัวแปรตาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนา, การจัดการความรู้, ผู้บริหารสถานศึกษา
ABSTRACT
The purposes of research were to (1) analyze causal factors affecting knowledge management development of school administrators under primary educational service area offices in the eastern region of Thailand, (2) to design a model for knowledge management development and (3) to implement and evaluate a model. The research methodology was divides into 3 phases. In the first phase, the researcher investigated and analyzed 5 causal factors which affected knowledge management development of school administrators under primary educational. The data was collected by questionnaire form 319 school administrators under primary educational service area offices in the eastern region of Thailand. Taro Yamane method was used to calculate the sample size and they were selected by the proportional stratified random sampling techniques. The data was analyzing Structural Equation Model: SEM, LISREL for Windows with Path Analysis at the .05 level of statistical significance. In the second phase, the research designed and developed a model for knowledge management development based on the data of first phase. The model of knowledge management development was assessed by 20 research participants consisting of five administrators of primary educational service area offices, five academicians, five administrators of primary school and five educational stakeholders. The data was collected by Workshop, focus groups and Brain Storming. In the third phase, the
voluntary sample subject as six educational administrators under primary educational service area offices in the eastern region of Thailand. They were experimental. A model of knowledge management development was implemented. The data was analyzed by Wilcoxon Signed Rank Test at the .05 level of statistical significance. Results of the research were as follows: 1. The research findings showed that the four major causal factors were related to knowledge management development at the .05 level of the statistical significance. The causal factors consisted of 1) technology of knowledge storage (0.47), 2) participation (0.44),
3) communication technology (0.36), and 4) progress report (0.22). 2. The model of knowledge management development consisted of twelve activities: 1) Port Folio, 2) data center, 3) control chart, 4) life position, 5) main server, 6) school website, 7) teacher webpage, 8) agenda, 9) assessment, 10) promise, 11) group line and 12) gest report. 3. The overage knowledge educational administrators under primary educational
service area offices after implementing the work that was higher than that of before implementing the model at the .05 level of statistical significance. Keywords : a model, knowledge management development, school administrators