รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดร้อยเอ็ด A Model for Improving Administrative Efficiency of Educational Administrators of Small–Sized Schools in Roi-Et Province

Authors

  • พันธวิทย์ ยืนยิ่ง
  • รังสรรค์ สิงหเลิศ
  • ณรงค์ฤทธิ์ โสภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 225 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล เพื่ออธิบายอิทธิพลเส้นทาง กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 5 ปัจจัย สาเหตุ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารในระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน นักวิชาการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 7 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดที่ใหญ่กว่ากลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 จำนวน 10 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา และระยะที่ 3
เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มทดลอง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดรอ้ ยเอ็ด จำนวนทั้งสิ้น 15 คน ใช้การเลือกแบบสมัครใจ ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลอง ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test โดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้  บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย คุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (0.61) สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา (0.40) การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ (0.28) การมีส่วนร่วมของชุมชน (0.24) 2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ได้จัดทำกิจกรรมในแนวทางการพัฒนา 4 ตัวแปร จำนวน 9 กิจกรรม ได้แก่ 1) การแสดงบทบาทสมมติ ครู นักเรียน 2) สร้างโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) สื่อการสอน 4) เทคโนโลยี 5) สิ่งแวดล้อม 6) เทคนิคการบริหาร งานเชิงกลยุทธ์ 7) การสร้างวิสัยทัศน์ 8) ศึกษาดูงาน และ 9) กีฬาสร้างความสัมพันธ์ 3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ก่อนทดลองกับหลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนในทุกตัวแปรตาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนา, ประสิทธิภาพการบริหารงาน, ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก

ABSTRACT
The purposes of research were to (1) analyze causal factors affecting improving administrative efficiency of educational administrators of small–sized schools in Roi-Et province, (2) to design the model for improving administrative efficiency and (3) to implement and evaluate the model. The research methodology was divided into 3 phases. In the first phase, the researcher investigated and analyzed 5 causal factors which affected improving administrative efficiency of the educational administrators of small–sized schools. The data was collected by questionnaire from 225 educational administrators of small–sized schools in Roi-Et province. Taro Yamane method was used to calculate the sample size and the samples were selected by the
proportional stratified random sampling. The data was analyzed by Structural Equation Model: SEM, LISREL for Windows with Path Analysis at the .05 level of statistical significance. In the second phase, the researcher designed and developed a model for improving administrative efficiency based on the data of the first phase. The model for improving administrative efficiency was assessed by twenty five research participants consisting of three administrators of local administrative organizations, seven academicians, ten school administrators, and five educational stakeholders. The data was collected by focus groups and brain storming. In the third phase, the voluntary sample subjects were fifteen administrators of small–sized schools in Roi-Et province. They were the experimental group of the model for improving administrative efficiency. The data was analyzed by Wilcoxon Signed Rank Test at the .05 level of statistical significance. Results of the research were as follows: 1. The research findings showed that the four major causal factors were related to improving administrative efficiency of the school administrators at the .05 level of the statistical significance. The factors consisted of learning organization (0.61), 2) competencies of teacher and educational personnel (0.40), 3) strategies management ( 0.28), and 4) community participation
(0.24) respectively. 2. The model for improving administrative efficiency of the school administrators
consisted of nine activities: 1) role - playing, 2) creating school for learning organization, 3) teaching materials, 4) technology, 5) environment, 6) techniques for strategic management, 7) creating good and clear vision, 8) study visit, and 9) sport for creating unity. 3. The average efficiency in administration of the school administrators after using the model was better than that of before using the model at the .05 level of statistical significance. Keywords: a model, improving administrative efficiency, educational administrators of small–sized schools

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

ยืนยิ่ง พ., สิงหเลิศ ร., & โสภา ณ. (2018). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดร้อยเอ็ด A Model for Improving Administrative Efficiency of Educational Administrators of Small–Sized Schools in Roi-Et Province. Chophayom Journal, 29(1), 289–302. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126464

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์