“ข้าวยำ” เมืองกราภูงา...คุณค่าแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน "KHAO YAM” MUANG KRA PHOO NGA….VALUES OF INDIGENOUS WISDOM
Keywords:
brochure, community tourism, participation, homestayAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “ข้าวยำ” เมืองกราภูงา อาหารพื้นบ้านของเมืองกราภูงาหรือจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ สะท้อนผ่านอาหาร “ข้าวยำ” ที่นำทรัพยากรธรรมชาติใกล้ตัวมาผสมผสานจนกลายเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ข้าวยำจึงเกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนรุ่นก่อนที่รู้จักดัดแปลงนำพืชสมุนไพรจำพวกใบเช่น กระพังโหม (พาโหม) ยอบ้าน ข่า พริกไทย ส้มซ่า มะนาว เป็นต้นมาผสมกับข้าวสวย และเครื่องแกงที่มีส่วนประกอบของปลาฉิ้งฉ้างกะปิ รับประทานร่วมกับผักเกร็ด(ผักเคียง) และต้มส้ม ซึ่งข้าวยำเมืองกราภูงา เป็นข้าวยำที่มีลักษณะเฉพาะ คือ เครื่องแกงที่ใช้จะมีปลาฉิ้งฉ้างเป็นส่วนประกอบ ผักที่ใช้จะเน้นใบกระพังโหม เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้นมีสรรพคุณทางยา เช่น ป้องกันโรคกระดูกพรุน คอพอก ริดสีดวง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนใน
ชุมชนที่เกิดจากการทำข้าวยำ เช่น การทำและรับประทานข้าวยำร่วมกันการแบ่งปันข้าวยำแก่เพื่อนบ้าน ตลอดจนการถ่ายทอดวิธีการทำข้าวยำจากรุ่นสู่รุ่น คำสำคัญ : ข้าวยำ, เมืองกราภูงา, ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, จังหวัดพังงา
ABSTRACT
This article aimed to present "Khao Yam", traditional food of Muang Kra Phoo Nga, Phang Nga Province, the province which had natural resource abundance. Khao Yam was a kind of unique food that reflected the application of integrated natural resource usage. Khao Yam was the indigenous of Thai wisdom of Thai ancestors who adapted the food by taking herbs and vegetables such as Skunk-vine leaves, Morindacitrifolia leaves, galangal, pepper, sour orange, and lemon mixed with cooked rice and anchovy-shrimp paste spices. Fresh vegetables and fish soup with ginger were served together. Khao Yam of Muang Kra Phoo Nga is a signature because it was a mixture of anchovy spices and skunk-vine leaves. The high nutritional value food provided calcium, iodine which had properties in disease prevention such as osteoporosis, goiter,
hemorrhoids, etc. Besides, it could reflect the relationships of community people through Khao Yam. People made and ate together or shared Khao Yam to neighbors, including transited how to make Khao Yam from generation to generation. Keywords : Khao Yam, Muang Kra Phoo Nga, Indigenous Wisdom, Phang Nga Province