แนวทางการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม Guidelines on Dealing with Problems and Obstacles in Collecting Taxes of Mahasarakham Municipality

Authors

  • นฤมล หอมจันทร์
  • ปิยะพงษ์ บุษบงก์

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการชำระภาษีของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามซึ่งจะทำให้เข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลฯ ในมิติด้านประชาชน 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลไกการทำงานของเทศบาลเมืองมหาสารคามในการบริหารจัดการและจัดเก็บภาษี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลเมืองมหาสารคามวิธีการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed methods) โดยทั้งข้อวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากร 36,954 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 396 คน และเลือกการสัมภาษณ์บุคลากรของเทศบาลเมืองมหาสารคามจำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ รวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.957 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย ค่าความถี ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ ไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านพื้นฐานส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ อาชีพ ภาระการชำระภาษีและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการชำระภาษีต่อประชาชน ทั้งในมิติของการชำระภาษีและความเต็มใจในการชำระภาษี ยกเว้น ระดับการศึกษากับการเห็นด้วยในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจชำระภาษีประกอบด้วยปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจและปัจจัยด้านความเข้มงวดของการตรวจสอบ ในขณะที่ ปัจจัยที่เหลือไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจชำระภาษี กล่าวคือ ปัจจัยด้านความเหมาะสมของการกำหนดอัตราการชำระภาษี ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการชำระภาษีและปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล หรือกล่าวอีกแง่หนึ่งคือความรู้ความเข้าใจและความเข้มงวดของการตรวจสอบส่งผลต่อการตัดสินใจชำระภาษี ด้วยเหตุนี้ เทศบาลควรเน้นรับมือกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีด้วยการเน้นพัฒนาช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนและเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ 2. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลในมิติของประชาชน พบว่าปัญหาและอุปสรรคหลักคือการยอมรับการชำระภาษีของประชาชน โดยที่แม้ว่าร้อยละ 59.34 จะเห็นด้วยมากต่อการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพื่อนำเงินมาพัฒนาท้องถิ่น แต่ก็มีมากถึงร้อยละ16.16 ที่เห็นด้วยน้อยและที่ไม่เห็นด้วยเลย คิดเป็นร้อยละ 4.55 สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่น้อยมีทัศนคติเชิงลบต่อการจัดเก็บภาษท้องถิ่น ในด้านของการชำระภาษีให้แก่ท้องถิ่น แม้ร้อยละ 49.24 มีการชำระภาษีให้แก่ท้องถิ่นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา แต่นั่นก็ไม่ถึงครึ่ง โดยยังมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งชำระ 2 ใน 3 (คิดเป็นร้อยละ 35.10) และอีกกลุ่มชำระเพียง 1 ใน 3 (คิดเป็นร้อยละ11.87) ในขณะที่ บางส่วนไม่ได้ชำระเลย (คิดเป็นร้อยละ 3.79) ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาความเต็มใจในการชำระภาษี ประชาชน พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะเต็มใจมาก (คิดเป็นร้อยละ 56.57) แต่ก็ยังมีผู้ที่เต็มใจน้อยมากถึงร้อยละ 15.91 และที่ไม่เต็มใจในการชำระภาษีเลย คิดเป็นร้อยละ 4.04 3. แนวทางสำคัญในการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวคือการอุดจุดอ่อน กล่าวคือ ในมิติของการยกระดับความพร้อมของเทศบาล เทศบาลควรเพิ่มความชัดเจนในการให้คำแนะนำการเสียภาษีของเจ้าหน้าที่เพิ่มความครอบคลุมของการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นต่อผู้เสียภาษีทุกคน และเพิ่มความพอเพียงของความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ ในขณะที่ ในมิติของการพัฒนากระบวนการจัดเก็บภาษี เทศบาลควรเพิ่มความใส่ใจในประเด็นเรื่องความถูกต้องของการพิจารณาการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ ลดทอนความยุ่งยากและซับซ้อนของการชำระภาษีให้แก่ท้องถิ่น และเน้นให้ข้อมูล ประชาสัมพันธ์รวมถึงชี้แจงเรื่องการชำระภาษีที่มีความชัดเจนและคลอบคลุมนอกจากนั้น จากการสัมภาษณ์มีประเด็นเพิ่มเติมที่สำคัญที่ควรพิจารณาในการพัฒนาแนวทางเพื่อรับมือกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเทศบาล ประกอบด้วยการพัฒนาด้านสถานที่ การพัฒนาด้านการบริการ โดย
เพิ่มการเข้าถึงช่องทางในการให้บริการที่หลากหลาย การพัฒนาด้านองค์กรและบุคลากร รวมถึง การพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์
คำสำคัญ : ปัญหาและอุปสรรค, การยอมรับการชำระภาษี, ภาษีท้องถิ่นเทศบาลเมืองมหาสารคาม

ABSTRACT
The research aimed to: 1) study the factors affecting the adoption of the payment of taxes in Mahasarakham, which makes understanding the problems and difficulties in collecting by the municipalities in the public dimension 2) study the problems and the obstacles of the working mechanism of Mahasarakham municipality in the management and taxation and 3) study the ways to deal with problems and obstacles in the taxation of Mahasarakham municipality. The research employed the mixed method of the quantitative research and the qualitative research. In this research, 396 people were sampled from the population of 36,954 and 5 of the personnel of Mahasarakham municipality were interviewed. The instrument for data collection was a 5-level rating scale questionnaire with the reliability of 0.957. The quantitative data were analyzed using frequency, percentage, standard deviation, Chi-square Regression and content analysis was
employed in analyzing the qualitative data. 1. The personal basic factors, be they sex, age, occupation, the tax incidence, and the average monthly income, had no relationship with the acceptance of paying taxes, both on the dimension of paying taxes and willingness to pay tax, except for the level of education and acceptance of paying taxes which revealed a relationship with statistical significance. This set of data showed the way to an important guideline in collecting taxes which is decreasing biases on sex, age, occupation, the tax incidence, and the average monthly income. Whatever the sex, age, occupation, income and the type of tax incidence might be, the people either consent or do not consent in paying taxes anyway, except for education to which the municipality shall give more importance by promoting learning on the tax incidence which the people must pay to their locality. 2. Problems and obstacles in collecting taxes of the municipality were considered on the people’s dimension It was found that the people’s acceptance of paying taxes was the problem and obstacle. That is to say, although 59.34 percent of the people agreed in the high level with collecting local taxes for local development, 16.16 percent agreed in the low level, and 4.55 percent did not agree. This reflected that not a little part of the sample had a negative attitude toward local tax collection. On the dimension of paying local taxes, although 49.24 percent continuously paid their local taxes during the last 3 years, the number was still less than a half. A number of people paid two-thirds (35.10 percent) of the tax, and another number paid only one-third (11.87 percent), while, 3.79 percent of the people did not pay. Meanwhile, regarding the willingness to pay tax, although most people (56.57 percent) were highly willing,
15.91 percent were very little willingness, and 4.04were not willing at all. 3. After all, regarding the problems and obstacles of the mechanism of the municipality, there were the aspect of readiness of the municipality and the aspect of tax collecting process. The important guideline on dealing with the said problem and obstacle is to get rid of the weak points. That is, on the dimension of elevating the readiness of the municipality, the municipality should increase clarity in the officer’s advice on tax payment, expand the coverage of local tax collection to cover every tax payer, and suffice the officer’s cognizance. At the same time, on the dimension of tax collecting process development, the municipality should pay more attention
to correctness of the officer’s judgment on tax collection, cut down difficulty and complexity of paying taxes to the locality, and emphasize giving information, publicity, as well as explaining tax payment clearly and thoroughly. Moreover, there were some important additional points collected from the interview that should be considered in developing guidelines on dealing with problems and obstacles in collecting taxes of the municipality. They were development of the place, development of service by adding various channels of service, organization and personnel development, and also publicity development. Keywords : Guidelines on Dealing with Problems, Obstacles in Collecting Taxes, Mahasarakham  Municipality

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

หอมจันทร์ น., & บุษบงก์ ป. (2018). แนวทางการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม Guidelines on Dealing with Problems and Obstacles in Collecting Taxes of Mahasarakham Municipality. Chophayom Journal, 29(1), 345–358. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126469

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์