ผีปู่ตา : ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ของชาวมหาสารคาม Guardian Ancestor Spirit: Believe Tradition and Ritual of Mahasarakham Province
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเชื่อ ประเพณี และขั้นตอนพิธีกรรมของผีปู่ตา จังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากเฒ่าจํ้า ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าทุกคนในชุมชนยังให้ความเชื่อถือเคารพศรัทธา ยึดมั่นในความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ที่มีมาแต่อดีต โดยมีเฒ่าจํ้าเป็นตัวแทนของผีปู่ตาซึ่งชาวบ้านเลือกสรรให้ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างผีปู่ตากับชาวบ้าน เฒ่าจํ้าต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์และเสียสละ เมื่อเฒ่าจํ้าถึงแก่กรรมก็จะต้องเลือกเฟ้นหาชาวบ้านคนใหม่มาทำหน้าที่เฒ่าจํ้าคนต่อไป ในการคัดเลือกใหม่โดยวิธีเสี่ยงทายต่อหน้าศาลปู่ตา โดยมีชาวบ้านร่วมเป็นสักขีพยานในด้านความเชื่อ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าผีปู่ตาคือผีบรรพบุรุษ ที่ทำหน้าที่ป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดกับหมู่บ้านและให้ความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ชาวบ้าน ด้านประเพณี จัดขึ้นในวันพุธแรกของเดือนหก ด้านพิธีกรรมเฒ่าจํ้ามีหน้าที่ทำหรือนำพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับผีปู่ตาและบริเวณที่อยู่อาศัยรวมถึงบวงสรวงเสี่ยงทายโดยใช้ไม้ทำนายฟ้าฝน โดยเฒ่าจํ้าจะเก็บเศษไม้ยาวประมาณ 1 วา แถวบริเวณพิธี มาใช้เสี่ยงทาย หากฝนตกดีไม้ก็จะยาวขึ้นอีกกว่าครึ่งวาอย่างน่าอัศจรรย์ รวมทั้งทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ทำพิธีปัดรังควาน นอกจากนี้เฒ่าจํ้ายังต้อง เอาใจใส่ดูแลป้องกันรักษาพื้นที่ บริเวณป่า ต้นไม้ สัตว์ รวมไปถึงทรัพยากรผลิตผลจาก ป่าดอนปู่ตา ทั้งปวงให้อยู่ในสภาพปกติ ตามบัญชาของผีปู่ตา ด้วยถือว่า เป็นสมบัติของผีปู่ตา ที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ หากมีความจำเป็น ต้องการใช้สอยสิ่งใด ภายในบริเวณ ป่าดอนปู่ตา เช่น เห็ด แมลง ฟืนไม้แห้ง ผัก และพืช สมุนไพร เป็นต้น ต้องขออนุญาต ผีปู่ตาเป็นส่วนตัวและผ่าน "เฒ่าจํ้า" เสมอ มิฉะนั้นจะถูกผีปู่ตาลงโทษ ให้
ได้รับภัยพิบัติต่างๆ จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตานับว่าเป็นประเพณีอันชาญฉลาดของบรรพชนที่สืบต่อกันมา ทำชุมชนเกิดความเชื่อและศรัทธา มีขวัญและกำลังใจรวมทั้งความสามัคคี ความมั่นคงในชุมชนของตน คำสำคัญ : ผีปู่ตา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม
ABSTRACT
The research objectives are to study the ritual believe of the ancestor spirit in Mahasarakham province using qualitative research methods by collecting information from guardian ancestor spirit leader, called “Tao-jum” community leaders and villagers by observing, interviews and focus group discussions. The results found that everyone in the community was trustworthy, holding faith traditions and rituals, with the past. The “Tao-jum” was a representative of the ancestors spirit, with the villagers selected to communicate with the villagers and the ancestor spirit. He must be a good personality, moral, faithful and self-sacrificing. When he passed away, the villagers would have to select a new villager to take the next step. The recruiting method takes place in front of the shrine. The villagers witnessed and selected qualified people to be new “Tao-jum”. The villagers believe that ancestor spirit will prevent disaster and to remain village peacefulness. The tradition will be held on the first Wednesday of May. In the ceremony predicted is done by using wood to predict the rain. Tao-jum will keep the scraps around two meters near the ritual area. If it rains well, the wood will be longer than two meters. It is believed that the ceremony can protect the area of the forest and inside the forest, such as wild animals, mushrooms, insects, wood, wild vegetables and herbs. The tradition of the guardian ancestor spirit is a wise wisdom of the ancestor heritage to make security in their communities. Keywords : spirit, ancestor, believe, ritual, tradition